เศษอาหารคืนชีวิต

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชีวเทพ พากเพียร, ศุภกฤต โสภณมงคลกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชุติมา อรรถรัฐ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันหลายๆครัวเรือนประสบปัญหาจากการมีเศษอาหารเหลือใช้จากการทำอาหารภายในครัวเรือนและไม่ได้ทำการกำจัดขยะจากเศษอาหารอย่างถูกต้องและเรียบร้อย จนทำให้เศษอาหารเหล่านั้นถูกนำไปกองรวมกันกลายเป็นขยะมหาศาลเกิดปัญหาเศษอาหารมีมากเกินไปจนกลายเป็นกองขยะขนาดใหญ่มาทำลายสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาระดับโลกอย่างขยะล้นโลก

ทางผู้จัดทำโครงงานได้เล็งเห็นปัญหานี้ทางเราจึงได้ทำการทดลองโครงงานปุ๋ยหมัก โดยทดลองการหมักปุ๋ยด้วยเศษอาหารเหลือใช้จากบ้านเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายใน ครัวเรือน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และช่วยลดปัญหาขยะล้นโลกที่เกิดจากกองเศษอาหารเหล่านี้ โดยเราจะทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารโดยการนำเศษอาหาร เศษวัชพืช พด.1มาคลุกเคล้าเข้าด้วยกันใส่ภาชนะที่มีรูอากาศแล้วปิดฝา ก่อนจะหมักเอาไว้ โดยเราจะแบ่งปุ๋ยหมักที่เราทำออกเป็นสองสูตรคือสูตรหมักมูลสัตว์และสูตรหมักต้นกล้วย โดยจะใช้เวลาหมักปุ๋ยประมาณ30วัน ในระหว่างนั้นจำเป็นต้องคนส่วนผสมในปุ๋ยสม่ำเสมอระหว่างการหมัก เพื่อให้อัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในปุ๋ยหมักมามากขึ้น ในระหว่างที่รอปุ๋ยหมักสำเร็จเราจะปลูกต้นกวาวตุ้งเพื่อนำมาทดลองหาค่าความแตกต่างระหว่างปุ๋ยทั้งสองสูตร หลังจากเราหมักปุ๋ยได้ครบ30วันแล้ว เราจะนำปุ๋ยหมักที่เราได้ทำมาทดลองใช้กับต้นกวางตุ้งที่ปลูกไว้โดยแบ่งกลุ่มของต้นกวางตุ้งทั้งหมดออกเป็นสองกลุ่มกลุ่มละ10ต้นและใส่ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารของเราลงไป1สูตรต่อ1กลุ่ม แล้วทำการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของต้นกวางตุ้งทั้งสองกลุ่มในเวลาประมาณ15วัน วัตถุประสงค์ของการทำปุ๋ย หมักจากเศษอาหารของกลุ่มเราคือ เพื่อลดปัญหาขยะล้นโลกอันเนื่องมาจากเศษอาหารที่เหลือใช้ภายในครัวเรือนมีมากเกินไป เพื่อเพิ่มแร่ธาตุ ต่างๆภายในดินให้ดินมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายต่างๆจากการใช้สารเคมีของเกษตรกรภายในชุมชนและเป็นการดูแล รักษาและป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนของเกษตรกรหลายๆคนที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในการเร่งโตของพืชผลอีกด้วย