การเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพโดยใช้พืชท้องถิ่น เพื่อลดความเป็นกรดของดิน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปีติพร สังขะบุญญา, ปุณยนุช บุตรจันทร์, เดือนฉาย ชัยรัตนวงศ์กุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

แพรวสุภา เหล่าศิริ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพโดยพืชท้องถิ่น เพื่อลดความเป็นกรดของดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสูตรปุ๋ยที่ชีวภาพช่วยลดความเป็นกรดในดินและแก้ไขปัญหาสภาวะดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยว เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นส่วนมาก แต่มักจะพบปัญหาเกี่ยวกับสภาวะดิเปรี้ยวหรือเป็นกรด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งการเกษตรถือเป็นอาชีพหลักของคนในประเทศ จึงมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา โดยวัดค่า pH ในดินร่วนและ

ดินเปรี้ยวก่อนผสมปุ๋ยหมักชีวภาพและหลังผสมปุ๋ยหมักชีวภาพ จากนั้น ทำการศึกษาปริมาณแคลเซียมใน

เปลือกไข่แต่ละชนิดและปริมาณแคลเซียมในผักผลไม้และใบไม้แต่ละชนิดด้วยวิธีการไตเตรท พบว่า เปลือกไข่ไก่มีปริมาณแคลเซียมมากที่สุด จากนั้น ทำการศึกษาโดยนำผักผลไม้และใบไม้ที่มีปริมาณแคลเซียมสูงมาผสม

เป็นปุ๋ยชีวภาพ ได้เป็น 7 สูตร ได้แก่ ปุ๋ยส้มและใบชะพลู ปุ๋ยมะละกอสุกและผักแพว ปุ๋ยงาและผักกระเฉด ปุ๋ยใบมะม่วง ปุ๋ยใบคูณ ปุ๋ยใบสะเดา และปุ๋ยมูลวัว แล้วนำไปทดสอบโดยการนำไปผสมกับดินเปรี้ยวและ

ดินที่มีสภาวะเป็นกลาง (ดินร่วน) จากนั้นใช้เครื่องpH meter วัดค่า pH ในดินเปรี้ยวและดินร่วน จากการ

ศึกษาพบว่าปริมาณแคลเซียมในปุ๋ยสูตรที่4 (ปุ๋ยใบมะม่วง) มีปริมาณแคลเซียมน้อยที่สุด จึงเลือกปุ๋ยสูตรที่ 4

ในการผสมกับแคลเซียมจากเปลือกไข่ไก่ ผลการศึกษาพบว่า ปุ๋ยสูตร ใบชะพลูและส้ม งาดำและผักกระเฉด ใบมะม่วงและใบสะเดา เมื่อวัดค่า pH จะเห็นได้ว่ามีค่า pH ที่เท่ากัน และปุ๋ยสูตรที่ 1(ปุ๋ยงาดำและผักกระเฉด) มีปริมาณมากที่สุด