การพัฒนาแผ่นฟิล์มชีวภาพนาโนเซลลูโลสจากซังข้าวโพด เสริมประสิทธิภาพด้วยลิกนินและคาร์บอนควอนตัมดอท เพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย รูปสูง, ฐิติวรดา จันทะโค, ณัฏฐนันท์ บุระเนตร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฏฐพัชร์ เพ็ชรศรีกุล, สุวดี สารพันธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันค่าการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตที่มายังพื้นโลกมีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากโอโซนในชั้นบรรยากาศลดลง หากสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลตในปริมาณมาก จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ พืช และวัสดุสิ่งก่อสร้าง จึงมีการคิดค้นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งในปัจจุบันมีเสื้อ แว่นตา ครีม รวมถึงฟิล์มป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต อย่างไรก็ตาม แผ่นฟิล์มป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเหล่านี้ยังไม่สามารถย่อยสลายได้ ส่งผลให้เกิดขยะสะสม จากปัญหาดังกล่าว ผู้จัดทำจึงพัฒนาแผ่นฟิล์มให้มีความสามารถในการย่อยสลายได้ ด้วยแผ่นฟิล์มนาโนเซลลูโลส เสริมประสิทธิภาพด้วยลิกนินและคาร์บอนควอนตัมดอท เพื่อการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ดำเนินงานโดยการสังเคราะห์นาโนเซลลูโลสจากซังข้าวโพดด้วยกระบวนการเชิงเคมีร่วมกับเชิงกล การจัดซื้อลิกนิน และสังเคราะห์คาร์บอนควอนตัมดอทจากเปลือกขนุนด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอล นำมาขึ้นรูปฟิล์มโดยมีอัตราส่วนที่แตกต่างกัน จากนั้นศึกษาคุณสมบัติต่างๆของแผ่นฟิล์ม ฟิล์มที่ได้จากการพัฒนามีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพได้