ผลของความเค็มและขนาดอนุภาคของดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดหญ้าคาทะเล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปาณิศา แก้วกันหา, ฟิลิบดา บุญพันธ์, ศุภกร ชูประสูตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วชิรพัฒน์ จิวานิจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การจัดทำโครงงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการทดลองความเค็มกับขนาดอนุภาคดินที่มีผลต่อเมล็ดหญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) นอกจากนี้ยังเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรหญ้าทะเล

ผลการศึกษาและการทดลองผลของความเค็มและขนาดอนุภาคดินที่มีผลต่อเมล็ดหญ้าคาทะเล(Enhalus acoroides) โดยผู้จัดทำใช้ดิน3ชนิด ประกอบด้วย ดินทรายหยาบ ดินทรายละเอียด ดินโคลน และน้ำเค็มมีความเค็มที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ประกอบด้วย ความเค็ม25ppt ความเค็ม35ppt และ ความเค็ม45ppt โดยการทดลองจะศึกษาจำนวนใบ ความยาวใบ จำนวนราก ความยาวราก และอัตราการอยู่รอด จากการทดลองพบว่าดินทรายละเอียด25ppt ให้ผลการทดลองที่ดีที่สุด เพราะ จำนวนใบ ความยาวใบ จำนวนราก ความยาวราก และอัตราการอยู่รอดสูงที่สุด จึงเหมาะต่อการเพาะเลี้ยงหญ้าคาทะเล(Enhalus acoroides) มากที่สุด