อุปกณ์จำแนกขยะพลาสติกประเภทโพลีเอทิลีน, โพลีโพไพลีน, โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลด, และโพลิไวนิลคลอไรด์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กอบเกื้อ ฐานทองดี, ศศิภา นีรพัฒนกุล, จุฬาลักษณ์ ทวีสุขเสถียร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศรัณย์ นวลจีน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกำเนิดวิทย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันได้มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะ โดยเฉพาะพลาสติกที่ถูกนำมาใช้ในปริมาณมากขึ้นเนื่องจากคุณสมบัติต่างๆที่เหมาะสมต่อการใช้งานที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีราคาถูกและใช้งานง่าย โดยปกติแล้วในโรงงานคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำไปรีไซเคิลจะใช้แรงงานคนในการคัดแยกเป็นหลัก ประกอบกับการคัดแยกโดยใช้เครื่องกลและกระบวนการทางเคมี แต่วิธีเหล่านี้มีมักมีข้อจำกัดในการคัดแยก รวมถึงใช้เวลานาน ต้นทุนสูง อีกทั้งการแยกด้วยคนอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ทางคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงาน เครื่องจำแนกขยะพลาสติกประเภทโพลีเอทิลีน, โพลีโพไพลีน, โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลด, และโพลิไวนิลคลอไรด์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ขึ้น โดยตัวเครื่องประกอบไปด้วยส่วนของสายพานลำเลียงขยะ ส่วนประมวลรูปภาพ และถังหมุนสำหรับรองรับขยะแต่ละประเภท โดยออกแบบส่วนของสายพานลำเลียง โครงเหล็กรองรับสายพาน และถังขยะด้วยโปรแกรมSolidwork และใช้laser cutting machineในการตัดแผ่นอะคลิลิคซึ่งเป็นวัสดุหลัก ประกอบและเชื่อมกับมอเตอร์และเซนเซอร์อินฟาเรดที่ถูกควบคุมโดยArduino UNO ทำงานร่วมกันกับส่วนของโปรแกรมโดยใช้โมเดล Convolutional neural network (CNN) และใช้ Keras กับTensorflow เป็นซอฟต์แวร์หลักในการจำแนกประเภทขยะพลาสติก

จากการทดลองสร้างโมเดลทำให้เห็นว่าepochที่ 67มีความแม่นยำสูงสุดจึงแก้ไขโดยการใส่ข้อมูลไปเพือง75ครั้งเพื่อลดภาระของเครื่อง และในการใส่ข้อมูลครั้งที่ 75 พบว่า โมเดลสามารถจำแนกขยะพลาสติกประเภทดังกล่าวได้ด้วยความแม่นยำสูงสุดอยู่ที่ 93.51% ซึ่งความผิดพลาดเกิดจากระบบที่ไม่รองรับไลบรารีบางส่วนและ GPUของเครื่อง แบะในส่วนของการสร้างระบบสายพานมีความผิดพลาดทีเกิดจากการออกแบบและกระบวนการตัดและเชื่อมเหล็กทำให้โครงมีโครงสร้างที่มีความไม่สม่ำเสมอกัน