วิธีคำนวณสลับวันที่ตามปฏิทินสุริยคติและปฏิทินจันทรคติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิมแพร หอมอุทัย, กัญชพร เเก้วจันทร์, จิรสุดา บุญฤทธิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัทพล ศักดิรัตน์, รักก่อ ศิริวัฒน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลกทำให้เกิดการดำเนินไปของวัน เดือน ปี ตามปฏิทินสุริยคติ ประกอบด้วยลักษณะปี 2 ชนิด คือปีปกติ(1 ปี มี 365 วัน) และปีอธิกสุรทิน(1 ปี มี 366 วัน) และการหมุนรอบโลกของดวงจันทร์ทำให้เกิดการดำเนินไปของวัน เดือน ปี ตามปฏิทินจันทรคติ ประกอบด้วยลักษณะปี 3 ชนิด คือ ปีปกติ(1 ปี มี 354 วัน) ปีอธิวาร(1 ปี มี 355 วัน) และปีอธิกมาส(1 ปี มี 384 วัน) ซึ่งลักษณะดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างในเรื่องต่างๆ เช่น การกำหนดวันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญทางประเพณี วันสำคัญที่เป็นสากล การเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เวลาขึ้น ตกของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งวิธีในการเปลี่ยนวันแบบสุริยคติเป็นจันทรคตินั้นอาศัยการดูจากปฏิทินปกติที่ทั้งภาครัฐและเอกชน จำหน่ายจ่ายแจก ในแต่ละปี ซึ่งหากต้องการคำนวณล่วงหน้าก็มักจะใช้การนับวันเทียบเคียงไปเรื่อยๆ ลักษณะเดียวกันกับที่โหรหรือพระเกจิอาจารย์ที่ผู้คนนับถือใช้กัน ซึ่งจะต้องใช้เวลาและมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนสูง อีกทั้งการพยากรณ์ลักษณะปีทางจันทรคติในอนาคตนั้นยังอ้างอิงจากตำราสุริยยาตร์ซึ่งเป็นตำราโบราณสืบทอดมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาโดยโหร จึงทำให้โอกาสที่จะคลาดเคลื่อนจึงยิ่งมีสูงมากขึ้น ทางกลุ่มจึงได้สร้างวิธีในการเปลี่ยนสลับวันในปฏิทินสุริยคติกับจันทรคติขึ้นโดยจะใช้กับปีใดก็ได้ และนำวิธีการนี้ไปใช้คำนวณล่วงหน้าเกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนาในปีถัดไป รวมถึงพยากรปรากฏการณ์ต่าง เช่น น้ำขึ้นน้ำลง และเวลาการขึ้น ตกของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เป็นต้น