ถ่านกัมมันต์จากวัสดุท้องถิ่นที่มีปริมาณคาร์บอนสูง โดยการกระตุ้นทางเคมี

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ทศพล ม่วงภูเขียว, วริศรา ใจเป็ง, พิมพ์​แข​ ติยะ​บุตร​

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาวิณี สุพลแสง, ชาลี สุพลแสง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาถ่านกัมมันต์จากวัสดุท้องถิ่นที่มีปริมาณคาร์บอนสูง โดยการกระตุ้นทางเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาวัสดุท้องถิ่นที่มีปริมาณคาร์บอนสูง และปริมาณเถ้าต่ำ 2)เพื่อผลิตถ่านกัมมันต์จากวัสดุในท้องถิ่นด้วยวิธีการกระตุ้นทางเคมี 3)เพื่อศึกษาตัวแปร การสังเคราะห์ถ่านกัมมันต์ด้วยวิธีการกระตุ้นทางเคมี เช่น อุณหภูมิในการกระตุ้น อัตราส่วนการแช่สารเคมีต่อวัตถุดิบ(โดยมวล) ชนิดของสารที่ใช้กระตุ้น และเวลาในการกระตุ้น 4)เพื่อทดสอบสมบัติถ่านกัมมันต์ที่ผลิตได้ เช่น ค่าพื้นที่ผิว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุน

5)เพื่อทดสอบถ่านกัมมันต์กับน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียในโรงพยาบาลหรือแหล่งน้ำเสียในชุมชน ผลปรากฏว่า 1)วัสดุที่มีปริมาณคาร์บอนสูงตามลำดับ ได้แก่ เปลือกหุ้มเมล็ดยางพารา เปลือกเงาะ และตอซังข้าว ตามลำดับ 2)ถ่านกัมมันต์จากวัสดุที่มีคาร์บอน เมื่อกระตุ้นทางเคมีแล้วมีพื้นที่ผิวเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ เปลือกหุ้มเมล็ดยางพารา เปลือกเงาะ และตอซังข้าว ตามลำดับ 3)ถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วยอุณหภูมิต่ำจะมีพื้นที่ผิวมากขึ้น ได้แก่ เปลือกหุ้มเมล็ดยางพารา เปลือกเงาะ และตอซังข้าว ตามลำดับ 4)ถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วยเวลาต่างกันมีพื้นที่ผิวมากขึ้น ได้แก่ เปลือกหุ้มเมล็ดยางพารา เปลือกเงาะ และตอซังข้าว ตามลำดับ

5)สารที่มีความเหมาะสมต่อการนำมากระตุ้นถ่านกัมมันต์ ทำให้มีพื้นที่ผิวเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ZnCl2,CaCl2, และ MgCl2 ตามลำดับ 6)ถ่านกัมมันต์ที่สามารถดูดซับอิออนของตะกั่วได้ดีที่สุด ได้แก่ เปลือกหุ้มเมล็ดยางพารา เปลือกเงาะ และตอซังข้าว ตามลำดับ