การศึกษาการย่อยสลายของโฟมขนาดเล็กในน้ำโดยใช้แบคทีเรียจากลำไส้ของหนอนนก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปริญญ์ เจตสิกทัต, ชยพล เลาห์ทวีรุ่งเรือง, พสิษฐ์ สูงยิ่ง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐพล กลิ่นพุฒ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมาขยะพลาสติกต่อปีมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 200 เท่า และการที่ไม่สามารถจัดการ กับพลาสติกได้ทำให้เกิดไมโครพลาสติกกระจายในสิ่งแวดล้อมเป็นผลเสียในระบบนิเวศ คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่ จะศึกษาการย่อยสลายไมโครพลาสติกของแบคทีเรียในลำไส้หนอนนก ( Tenebrio molitor Linnaeus.) และ เก็บรักษาแบคทีเรียใน ตัวปฏิกรณ์ชีวภาพแบบเคลื่อนที่ (Moving bed biofilm reactor :MBBR) เพื่อใช้ในการ ย่อยสลายไมโครพลาสติกในภายหลัง ทำการทดลองโดย เลี้ยงหนอนนกด้วยโพลียูรีเทนโฟม (Polystyrene) เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นบ่มลำไส้ของหนอนนกด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ Liquid carbon-free basl medium (LCFBM) และฟิล์มพอลิสไตรีนที่อุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส เขย่าเป็นเวลา 14 วันเพื่อให้ได้เชื้อที่ สามารถย่อยสลายพอลิสไตรีน เชื้อที่ได้จะถูกเลี้ยงบนจานเพาะเลี้ยงอาหารเลี้ยงเชื้อสูตรเร่งโตเพื่อสังเกตโคโลนี จากนั้นบ่มเชื้อพร้อมกับ MBBR ที่อุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส เขย่าเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นทำการทำแห้งแบบ แช่เยือกแข็ง (Freeze dry) MBBR เพื่อให้สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน เพื่อที่จะตรวจสอบว่าแบคทีเรียที่ เก็บไว้ยังคงสามารถย่อยสลายพอลิสไตรีนได้ แบคทีเรียที่อยู่บนMBBRเป็นเวลา 7 วัน ใช้ในการทดสอบการ ย่อยสลายฟิล์มพอลิสไตรีนโดยการหยดน้ำลงฟิล์มพอลิสไตรีนและทำการวัดมุมของหยดน้ำ (contract angle) ต่อฟิล์มพอลิสไตรีน ผลการทดสอบพบว่ามุมสัมผัสในฟิล์มพอลิสไตรีนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าลดลง โดยเฉลี่ย 4.33 และ 0.20 องศา ตามลำดับ ซึ่งสรุปได้ว่าแบคทีเรียในลำไส้หนอนนกสามารถย่อย ฟิล์มพอลิสไต รีนได้ แม้ถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน ความรู้นี้สามารถใช้ในการกำจัดไมโครพลาสติกในเเหล่งน้ำซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยหนอนนกโดยตรง