ถังกำจัดน้ำมันในรูปอิมัลชันด้วยฟองอากาศ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อังศุธร งามประสิทธิ์, ณัษฐพงษ์ ธนวัฒชัยมงคล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุภชัย ทิพย์ยอและ, สุวัฒน์ชัย ประพาฬ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาการบำบัดน้ำมันที่เกิดจากน้ำมันในรูปอิมัลชันโดยทำการทดสอบด้วยการเตรียมอิมัลชันด้วยการผสมน้ำมันพืช 0.7 มิลลิลิตร น้ำยาล้างจาน 0.4 มิลลิตร และน้ำสะอาด 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ ทำการเป่าอากาศลงในอิมัลชันด้วยปั๊มลมและดูดฟองอากาศที่เกิดขึ้นโดยใช้กล้องจุลทรรศน์สังเกต พบว่า มีหยดน้ำมันขนาดเล็กเกาะรอบ ๆ ฟองอากาศ เมื่อศึกษาอัตราการเป่าอากาศของปั๊มด้วยอัตรา 650 และ 2,800 ลิตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ พบว่า อัตราปั๊ม 2,800 ลิตรต่อชั่วโมง มีสัดส่วนของหยดน้ำมันที่ผิวน้ำมากกว่าอัตราปั๊ม 650 ลิตรต่อชั่วโมง และดอกธูปฤาษีในปริมาณ 5 กรัม มีการดูดซับอิมัลชันได้มากที่สุดที่ปริมาณ 35.898 กรัม โดยเวลาที่สามารถดูดซับน้ำมันได้ดีที่สุดคือ 10 นาที และพบว่าหลังจาก 10 นาที ประสิทธิภาพการดูดซับอิมัลชันของดอกธูปฤาษีจะลดลง ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการออกแบบถังกำจัดน้ำมันในรูปอิมัลชันขึ้นมาเพื่อกำจัดน้ำมันในรูปอิมัลชันโดยการใช้ฟองอากาศพาหยดน้ำมันขึ้นมาสู่ผิวน้ำโดยอาศัยแรงแวนเดอะวาล์ว และด้วยคุณสมบัติของดอกธูปฤาษีที่มีคุณสมบัติที่ไม่ดูดซับน้ำแต่สามารถดูดซับน้ำมันได้ดี จึงใช้ดอกธูปฤาษีดูดซับน้ำมันในรูปอิมัลชันที่ติดขึ้นมากับฟองอากาศ จากการนำตัวอย่างน้ำเสียจากบ้านเรือนจำนวน 4 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ริมคลองท่าไข่ในพื้นที่หมู่ที่ 16 ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มาทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนและหลังบำบัด เพื่อศึกษาค่า DO (Dissolved Oxygen) BOD (Biochemical Oxygen Demand) pH (Potential of hydrogen ) และลักษณะสีของน้ำ พบว่า ค่า DO ของน้ำหลังทำการบำบัดจะมีค่าอยู่ที่ 3.09 – 4.98 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับค่ามาตราฐานการบำบัดน้ำเสีย ค่า BOD ของน้ำหลังจากการบำบัด พบว่า มีค่า 0.26 – 0.69 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีค่าที่น้อยกว่าค่ามาตรฐาน 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ในขณะที่ค่า pH ของน้ำหลังบำบัดจะอยู่ระหว่าง 5 – 9 ซึ่งจะอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานของน้ำเสีย และลักษณะสีของน้ำหลังการบำบัดดีขึ้น