สารสกัดจากใบกระท่อมและการสังเคราะห์สารอนุพันธ์และสารที่มีโครงสร้างเลียนแบบเพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐชยา ชายแดน, นภัสสร วงษ์มั่น

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัลลภ คันธิยงค์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากระบวนการแยกสาร Mitragynine และ Rhynchoylline ในใบกระท่อม ศึกษากระบวนการสังเคราะห์อนุพันธ์และสารที่มีโครงสร้างคล้าย Mitragynine และ Rhynchophylline ด้วยปฏิกิริยาเคมี และจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการต้านการทำงานของเอนไซน์ alpha-glucosidase ของ Mitragynine และ Rhynchophylline จากใบกระท่อมและสารที่สังเคราะห์ได้ เพื่อนำมาเป็นตัวเลือกหนึ่งในการพัฒนาเป็นยาต้านเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งสามารถทำได้ใน 2 วิธีคือ เพิ่มการนำเข้าสู่เซลล์ของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและลดการเกิดน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว โดยมีงานวิจัยรายงานว่าสารสกัดใบกระท่อมสามารถเพิ่มการนำเข้าน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเข้าสู่เซลล์ได้มากกว่าอินซูลินหากใช้ในความเข้มข้นที่สูง และสาร Mitragynine และ Rhynchophylline ในใบกระท่อมยังมีฤทธิ์ระดับต่ำถึงปานกลางในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยนจากน้ำตาลหลายโมเลกุลให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ผู้วิจัยสนใจศึกษาการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส จึงจะทำการสกัดสาร Mitragynine และ Rhynchophylline จากใบกระท่อม และทำการสังเคราะห์สารอนุพันธ์และสารที่มีโครงสร้างคล้ายกับสาร Mitragynine และ Rhynchophylline เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดและการอนุพันธ์สามารถทำได้โดยการทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเกิด p-nitrophenoxide ที่มีสีเหลือง ด้วยการวัดการดูดกลืนแสง ultraviolet ที่ความยาวคลื่น 405 nm เพื่อหาค่าความเข้มข้นของสารทดสอบที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ 50% ( IC50 )