การศึกษากระบวนการเก็บเกี่ยวที่ส่งผลต่อความหอมของพริกไทยสายพันธุ์ปะเหลียน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วงศกร วีระกุล, กิตติวรรธน์ จันทร์เกตุ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิริขวัญ หนูพุทธิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พริกไทยตรังพันธุ์พื้นเมืองปะเหลียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดตรังมาอย่างยาวนาน
นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่การปลูกพริกไทยได้หายไปเนื่องจากการที่ผู้คนหันมาปลูกยางพารา ซึ่งในปัจจุบัน
การปลูกพริกไทยได้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งเนื่องจากในช่วงเวลาที่ยางพาราไม่สามารถกรีดได้เป็นช่วงเวลาที่
ผลผลิตพริกไทยสามารถเก็บได้ผู้คนจึงหันมาปลูกพริกไทยเป็นอาชีพเสริม แต่ในการปลูกพริกไทยพันธุ์พื้นเมือง
ปะเหลียนนี้จะเน้นการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่ ซึ่งเกษตรกรแต่ละคนก็มีกระบวนการเก็บเกี่ยวพริกไทยที่ต่างกันออกไปทางกลุ่มผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับ
กระบวนการเก็บพริกไทยที่ส่งผลต่อความหอมของพริกไทยเพื่อให้ได้วิธีการเก็บเกี่ยวพริกไทยที่ดีที่สุดเพื่อส่ง
แข่งในตลาดโลกให้มีความหอมมากกว่าพริกไทยกัมปอตที่เป็นเจ้าของตลาดโลกได้