การศึกษาผลของ Nano-ZnO ในการเป็นสารอีลิซิเตอร์ต่อการเจริญเติบโตของโพรโทคอร์มว่านเพชรหึงและผลของน้ำตาลซูโครสต่อการชักนำให้เกิดต้นอ่อนในสภาพปลอดเชื้อ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชาลิสา หวามา, ณัฐธิดา จันทบูรณ์, ณัฐวุฒิ วิเชียรรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รนนท์ นุ่นสิงห์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาผลของ Nano-ZnO ในการเป็นสารอีลิซิเตอร์ต่อการเจริญเติบโตของโพรโทคอร์มว่านเพชรหึงและผลของน้ำตาลซูโครสต่อการชักนำให้เกิดต้นอ่อนในสภาพปลอดเชื้อ เชื้อ ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 4 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาอาหารเสริมอินทรีย์ร่วมกับอาหารสูตร MS ต่อการงอกและการพัฒนาของเมล็ดว่านเพชรหึง พบว่าอาหารสูตร MS ร่วมกับกล้วยหอม 100 ก./ล. ทำให้เมล็ดว่านเพชรหึงมีค่าเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สดคือ 96.67 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเมล็ดที่งอกอยู่ในระยะที่ 3 มาทดลองต่อในการทดลองที่ 2 พบว่าเมล็ดที่เพาะเลี้ยงลงบนอาหารสูตร MS ร่วมกับ Nano-ZnO 60 มก./ล. สามารถชักทำให้โพรโทคอร์มมีค่าดัชนีการงอกสูงที่สุดคือ 240.67 สำหรับการทดลองที่ 3 เป็นการศึกษาผลของน้ำตาลซูโครสที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนว่านเพชรหึง พบว่าอาหารสูตร MS ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 40 ก./ล. ส่งผลให้ต้นอ่อนมีจำนวนราก จำนวนใบ และน้ำหนักสดมากที่สุด ซึ่งพร้อมสำหรับการนำออกไปอนุบาลในเรือนเพาะชำ สำหรับการศึกษาชนิดของวัสดุปลูกที่ส่งผลต่อการรอดชีวิต จำนวนราก จำนวนใบ ความสูง และน้ำหนักสดที่เพิ่มขึ้นในการทดลองที่ 4 นั้น พบว่าดินร่วน + แกลบดิบ + แกลบเผา ส่งผลให้จำนวนราก จำนวนใบ ความสูงลำต้น และน้ำหนักสดเพิ่มขึ้นมากที่สุด