การพัฒนาผ้าเช็ดทำความสะอาดเเบบเปียกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เจมชรันต์ ศรีเเก้ว, วรกฤศ จันทร์อ้าย, เกศศักดิ์ ตีรวรานันท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สอาด ริยะจันทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ผ้าเช็ดทำความสะอาดเเบบเปียกหรือที่คนไทยนิยมเรียกว่ากระดาษทิชชู่เปียกประกอบด้วยเส้นใยพลาสติกสังเคราะห์จึงทำให้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำให้เป็นขยะส่วนเกินที่ตกค้างอยู่ในธรรมชาติส่งผลกระทบโดยตรงต่อธรรมชาติ รวมถึงสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นๆ ด้วย ผ้าเช็ดทำความสะอาดเเบบเปียกนั้นยังเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีทำให้เกิดไฟป่าได้ง่าย และไม่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติได้รวมถึงก่อให้เกิดไมโครพลาสติกอีกด้วยดังนั้นผู้ทำการวิจัยเลยสนใจที่จะนำของเหลือใช้ทางการเกษตรมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดเเบบเปียกเพื่อเเก้ไขปัญหาเเละทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมทางธรรมชาติโดยจะนำเส้นใยเซลลูโลสจากผักตบชวามาทดเเทนเส้นใยพลาสติกสังเคราะห์เเละเสริมโครงสร้างของเส้นใยเซลลูโลสด้วยซิลิกาจากเเกลบข้าวเเละเพคตินจากเปลือกทุกเรียนในอัตราส่วนต่างๆโดยเบื้องต้นจะใช้อัตราส่วนผักตบชวาต่อเพคตินต่อซิลิกาที่ 20 : 2 : 0 กรัมตามลำดับเเละเพิ่มปริมาณซิลิกาทีล่ะ 0.25 กรัมในเเต่ล่ะสูตร จากนั้นนำไปทดลองเปอร์เซ็นการดูดซับน้ำในอากาศ เปอร์เซ็นการดูดซับน้ำหลังเเช่ในน้ำเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เปอร์เซ็นการดูดซับเอทานอล 90% หลังเเช่ในเอทานอล 90% เป็นเวลา 1 ชั่วโมง อัตราการย่อยสลายตัวเองตามธรรมชาติ การขึ้นเชื้อราในอากาศปกติ การขึ้นเชื้อราหลังเเช่ในน้ำเป็นเวลา 1 ชั่วโมง การขึ้นเชื้อราหลังเเช่ในเอทานอล 90% เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ค่าความเเข็งเเรงการดึง เเละเปรียบเทียบหาสูตรอัตราส่วนที่เหมาะสมที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงที่สามารถทดเเทนกับผ้าเช็ดทำความสะอาดเเบบเปียกที่ประกอบด้วยเส้นใยพลาสติกสังเคราะห์