แผ่นปิดแผลไฮโดรเจลจากไคโตซานเสริมสารสกัด Baphicacanthus cusia

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วรัญญู วิเศษธร, อติชาติ พิทักษ์ยอด

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ยุวดี แสนทรงสิริ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การดูแลและป้องกันการติดเชื้อในแผลเป็นสิ่งสําคัญในการรักษาบาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัด

หรือแผลถลอก ปัจจุบันนิยมใช้ผ้าก๊อซหรือปลาสเตอร์ในการปิดแผล แต่เมื่อแผลสมานแล้วการลอกผ้าก๊อซหรือปลาสเตอร์ออกจะทำให้แผลเกิดการระคายเคืองและเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำอีก คณะผู้พัฒนาจึงมีแนวคิดในการสร้างแผ่นปิดแผลไฮโดรเจลที่มีคุณสมบัติดูดซึมน้ำได้ดี ไม่เกิดการระคายเคืองเมื่อลอกออกและเสริมสารสกัดจาก Baphicacanthus cusia ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งแบคทีเรีย S. aureus บนผิวหนัง โดยหมักใบ B. cusia ด้วยน้ำสะอาดทิ้งไว้ 3-8 วัน จนเน่า แล้วเติมน้ำปูนขาว คนให้เกิดฟอง ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นระเหยแห้งเพื่อสกัดผง B. cusia นำผงสารสกัด B. cusia หาค่า MIC ใน microplate และค่า MBC เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ จากนั้นเตรียมแผ่นไฮโดรเจลจากไคโตซาน โดยแบ่งออกเป็น 4 ชุดการทดลอง คือ ชุดที่เติม glutaraldehyde จำนวน 2 ชุด โดยหนึ่งในชุดการทดลองเติมผงสารสกัด B. cusia และชุดที่ไม่เติม glutaraldehyde จำนวน 2 ชุด หนึ่งในชุดการทดลองเติมผงสารสกัด B. cusia โดยเริ่มจากการละลาย PVA ปริมาณ 5 กรัมในน้ำกลั่น 25 มิลลิลิตร จากนั้นเติมสารละลายไคโตซาน 25 มิลลิลิตร ที่ละลายด้วยกรดแอซิติกความเข้มข้น 1 % และผงสารสกัด B. cusia หลังจากคำนวณหาความเข้มข้นต่ำที่สุด แล้วเติม glutaraldehyde ความเข้นข้น 5 % ปริมาตร 25 ไมโครลิตรเป็นสารเชื่อมขวาง คนของผสมให้เข้ากันจนเป็นสารละลายแล้วเทลงพิมพ์ จากนั้นนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จนแห้งสนิท เมื่อได้แผ่นไฮโดรเจลแล้วตรวจสอบคุณสมบัติการยับยั้งแบคทีเรียด้วย diffusion method และคำนวณหาค่าความเป็นเจลและการดูดซึมน้ำของไฮโดรเจล สังเกต บันทึกผล สรุปผล และรายงานข้อมูลเป็นกราฟเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล