ศึกษาความสามารถของผู้ล่าลูกน้ำยุงในการกำจัดลูกน้ำยุง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริมา สมุทรสาร, พิมพ์มาดา อนุศักดิ์ชัยกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พัชรา พงศ์มานะวุฒิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จังหวัดตรังอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงพาหะนำโรค ได้แก่ ยุงก้นปล่อง ยุงลาย และยุงรำคาญ ซึ่งระยะลูกน้ำเป็นระยะที่สามารถกำจัดได้ง่ายที่สุด ในปัจจุบันจึงมีการใช้ทรายอะเบทในการกำจัดลูกน้ำยุงอย่างแพร่หลาย โดยทรายอะเบทเป็นทรายที่มีการเคลือบด้วยสารกำจัดแมลงทีมีฟอสมีความเป็นพิษสูงต่อลูกน้ำยุง ริ้น แมลงวันฝอยทราย แมลงหวี่ขน แมลงวันริ้นดำ เหา และสัตว์ปีก และความเป็นพิษต่ำต่อคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถึงอย่างไรก็ตามทรายอะเบทก็จัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ทางสาธารณสุขชนิดที่ 3 และจากการศึกษาพบว่าในแหล่งน้ำธรรมชาติที่พบได้ทั่วไปมีสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงปอ มวนกรรเชียง และจิงโจ้น้ำมีความสามารถในการกำจัดลูกน้ำยุง คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการกำจัดลูกน้ำยุงของผู้ล่าลูกน้ำยุง ซึ่งวิธีการทดลองเป็นดังนี้ เตรียมภาชนะทดสอบทั้งหมด 9 ภาชนะ แล้วเติมน้ำลงไปในภาชนะทดสอบ นำผู้ล่ายุงแต่ละชนิด ชนิดละ 3 ตัว แยกใส่ลงในภาชนะทดสอบ ภาชนะละ 1 ตัว นำลูกน้ำยุงแต่ละสายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 30 ตัว ใส่ลงในภาชนะทดสอบ สังเกตจำนวนลูกน้ำยุงที่เหลือ ทุกๆ 1 ชั่วโมง จนลูกน้ำยุงหมด ทำซ้ำอีก 2 ครั้ง บันทึกผล ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ ทราบความสามารถในการกำจัดลูกน้ำยุงของผู้ล่าลูกน้ำยุงในแต่ละชนิด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้คือการกำจัดลูกน้ำโดยการใช้ผู้ล่ายุงแทนการใช้ทรายอะเบท