ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอากาศและสีแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีผลต่อจำนวนเเละชนิดของยุงเพื่อนำไปพัฒนาอุปกรณ์กำจัดยุง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อินทัช เมืองพูล, กรวิชญ์ จริงจิตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชรา พงศ์มานะวุฒิ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ( อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน ) อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวงจรชีวิตของสัตว์จำพวกแมลงและยุงที่เป็นสัตว์จำพวกแมลงซึ่งเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง โรคไข้สมองอักเสบและอีกหนึ่งโรคที่ยังคงระบาดอยู่ทั่วทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ สาเหตุหลักเกิดมาจากการที่ประเทศไทยอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรทำให้มีอากาศอยู่ในช่วงอบอุ่นไปจนถึงร้อน และอีกปัจจัยหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโดยรอบเช่น ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน เป็นต้น ส่งผลให้ยุงต้องมีการปรับตัว มีรายงานพบว่าในปัจจุบันยุงลายสวนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆในบ้านเรือนของประชาชน การปรับตัวของยุงลายสวนให้สามารถดำรงชีวิตในเขตเมืองได้ อาจจะเกิดมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการขยายเขตเมืองที่ลดการมีร่มเงาของพืชพรรณ และจากสำนักงานกระทรวงสาธารณะสุขของจังหวัดตรังเปิดเผยว่าตั้งแต่ ปี พ.ศ.2558 การระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดตรัง 5 ปีย้อนหลังมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในแต่ละเดือน จังหวัดตรังยังเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ซึ่งจากข้อมูลไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีพาหะนำโรคมาจากยุงดังนั้นปริมาณการวางไข่ของยุงอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า การระบาดของโรคมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับปริมาณการวางไข่ของยุง และจากรายงานพบว่าสีของของภาชนะยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ยุงมีการวางไข่มากขึ้นทำให้ประชากรของยุงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ทางคณะผู้จัดทำเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มจำนวนของประชากรที่อาจมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาและคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยลดปริมาณลูกน้ำยุง และตัวเต็มวัย เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดจำนวนประชากรของยุง