การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดค่า BOD ในน้ำเสียของสารสกัดตกตะกอนชีวะภาพแทนนินจากเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบที่สกัดในอัตราส่วนต่างๆ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สาวินี ขุนทรง, จอมขวัญ เหมือนนึก

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เยาวรี หน่อนาคำ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กล้วยจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของกล้วยในปริมาณมาก อาทิ การรับประทานผล การใช้ประโยชน์จากใบตอง และลำต้น แต่ส่วนมากไม่มีการนำส่วนเปลือกมาใช้ทำให้เกิดเป็นขยะเหลือทิ้งซึ่งก่อให้เกิดปัญหาโดยตรงต่อสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเพื่อเพิ่มมูลค่าของเปลือกกล้วยน้ำว้ามาสกัดสารแทนนินที่มีคุณสมบัติเป็นสารสร้างตะกอนกับโปรตีนและแป้งนอกจากนี้ยังสร้างตะกอนกับโลหะหนักได้ดีซึ่งเป็นสารสร้างตะกอนชีวภาพในกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการสร้างตะกอนร่วมแทนการใช้สารเคมี เช่น สารส้ม เฟอร์ริกคลอไรด์ เฟอร์ริกซัลเฟต และปูนขาวซึ่งสารเหล่านี้ทำให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะและความเป็นกรด-ด่างหลังการบำบัด

ดังนั้นจึงทำการศึกษาโดยเลือกใช้สารสกัดแทนนินจากเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบโดยแบ่งการทดลองออกเป็น2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 ศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดแทนนินจากเปลือกกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีที่สะดวกและใช้งบประมาณน้อย ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพในการตกตะกอนโปรตีนของสารสกัดแทนนินโดยวัดจากค่า BOD ของน้ำ ซึ่งค่า BOD ( Biochemical Oxygen Demand ) คือปริมาณ oxygen ที่จุลินทรีย์ใช้ในการสลายสารอินทรียในน้ำ น้ำที่มี BOD มากกว่าเท่ากับ 100 mg/l จะเป็นน้ำเสีย และถ้าน้ำมีค่า BOD น้อยกว่า 100 mg/l จะเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี เราจึงมีแนวคิดที่จะทำการศึกษาหาวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้สารตกตะกอนชีวภาพแทนนิน