การศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียใต้วงแขนโดยใช้สารสกัดจากเปลือกมังคุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณิธาภัทร ใจสว่าง, จิรทีปต์ ปานโท้
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะมาศ เจริญชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศที่สภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งทำประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ มีกลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเกิดจากร่างกายของเราสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นกับ "ความร้อน" และ "อารมณ์" ซึ่งทำให้สมองหลั่งสารเคมีชื่อ แอซีทิลโคลีน (Acetylcholine) ที่อยู่บริเวณปลายประสาทออกมากระตุ้นต่อมเหงื่อให้ผลิตเหงื่อ (นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน, 2551)
กลิ่นตัวเกิดจากสารที่สร้างมาจากต่อมกลิ่น (apocrine gland) ซึ่งพบมากที่บริเวณรักแร้และหัวหน่าว ต่อมกลิ่นพบได้ตั้งแต่เกิดแต่จะเริ่มทำงานในช่วงวัยรุ่น มีหน้าที่ในมนุษย์คือการสร้างกลิ่นซึ่งเป็นลักษณะทางเพศแบบหนึ่ง สารที่หลั่งจากต่อมกลิ่นประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด (fatty acid, sulfanyl alkanols และ steroid) มีลักษณะเหลวข้นไม่มีกลิ่น เมื่อหลั่งออกมาด้านนอกของผิวหนังสารดังกล่าวจะถูกเชื้อแบคทีเรียเปลี่ยนให้เป็นสารที่มีกลิ่นซึ่งคือแอมโมเนียและกรดไขมันสายสั้น ซึ่งการมีกลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์นั้น มีแต่ส่งผลเสียแก่ตัวเอง เช่น การมีกลิ่นตัวที่มากหรือแรงจะทำให้ ไม่เป็นที่น่าพอใจของผู้คนรอบข้างกลิ่นตัวที่มากนี้จะทาให้บุคคลนั้นขาดความมั่นใจหรือมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงอากาศร้อนหรือการรักษาสุขอนามัยที่ไม่สะอาดจะทำให้กลิ่นตัวมากขึ้น (ผศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ,2560)
อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยระงับกลิ่นกายได้อย่างสารส้มและโรลออน ก็ยังเกิดปัญหาการระคายเคืองเกิดจากการที่สารประกอบที่ชื่อ Aluminium chlorohydrate ที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในโรลออน เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการลดเหงื่อดีมาก ออกฤทธิ์โดยการอุดรูขุมขน ทำให้เหงื่อไม่สามารถไหลออกมาได้ รักแร้จึงแห้งและไม่มีกลิ่น ซึ่งเป็นผลที่เราต้องการ แต่รูขุมขนที่ถูกอุดนี้ก็ทำให้เกิดการสะสมของเหงื่อ +ไขมัน ทำให้บางคนมีอาการคันและสิวขึ้น ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม คลอโรไฮเดรต สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล การแนะนำผู้อื่นหรือการบอกต่อควรต้องใช้ความระมัดระวัง ด้วยผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน สามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียงตามมาได้แตกต่างกันในแต่ละผู้บริโภค เช่น เกิดอาการระคายเคือง หรือทำให้ผิวแห้งบริเวณที่สัมผัสสารนี้(เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร, 2554)
ซึ่งผู้จัดทำได้ศึกษาจนทราบว่าสารจากเปลือกมังคุดอาจช่วยในการยับยั้งแบคทีเรียใต้วงแขน เนื่องจากเปลือกมังคุดมีสารที่ชื่อว่า Xanthone ที่สามารถยับยั้งได้ทั้งแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวกนอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่สามารถต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ในการต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งทำให้ผิวขาว กระจ่างใสขึ้น(Hashim NM et al,2555)
จากคุณสมบัติของเปลือกมังคุดที่กล่าวมา ผู้จัดทำจึงต้องการที่จะศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียใต้วงแขนของสารสกัดจากเปลือกมังคุด เพื่อพัฒนาต่อในการทำผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายจากเปลือกมังคุดที่ไร้สารเคมี และใช้ประโยชน์จากเปลือกมังคุดที่เหลือทิ้งให้คุ้มค่าที่สุด