การนำสารสกัดแอนโทไซยานินจากกะกล่ำปลีม่วงมาประยุกต์กับบรรจุภัณฑ์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ฐิติรัตน์ พิถยชุณพงศ์, กัญญาวีร์ หิรัญชุฬหะ, ปกิตา รัตนพิพิธชัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จตุภรณ์ สวัสดิ์รักษา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การรับประทานอาหารที่เน่าเสียจะส่งผลให้ผู้บริโภคเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคท้องร่วง ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากอาการอาหารเป็นพิษ เนื่องจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ปรสิต ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทยเนื่องจากมีอากาศที่ร้อนทำให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ซึ่งอาการส่วนใหญ่มัก ไม่ร้ายแรง แต่หากเกิดอาการรุนแรงขึ้นอาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะเสียน้ำและเกลือแร่จนเป็นอันตรายได้

ในปัจจุบันพบว่าโรคท้องร่วงเป็นโรคที่ทำให้เด็กเสียชีวิตไปมากที่สุด คณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเน่าเสียของอาหาร พบว่า ในอาหารที่เน่าเสียจะมีแบคทีเรียที่สร้างกรดแลกติก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาหารที่

เน่าเสียมีค่า pH เป็นกรด(สุดสาย ตรีวานิช, และ วราภา มหากาญจนกุล. , 2555)

เนื่องจากสารแอนโทไซยานิน เป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นสีแดง สีม่วง หรือสีน้ำเงินได้ตามค่า pH สามารถสกัดได้จากพืชบางชนิด เช่น ชบา อัญชัน ขมิ้น กระเจี๊ยบ กะหล่ำปลีม่วง โดยใช้กรดและเอทานอลได้ จึงเป็นสารที่มาจากธรรมชาติ โดยได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับการสกัดสารแอนโทไซยานินจากธรรมชาติ พบว่า สารแอนโทไซยานินที่สกัดจากกะหล่ำปลีม่วงมีความสามารถเป็น pH อินดิเคเตอร์ได้ดีที่สุด คณะผู้วิจัยจึงมีความคิดที่จะนำสารสกัดแอนโทไซยานินจากกะหล่ำม่วงมาประยุกต์ในบรรจุภัณฑ์ เพื่อตรวจสอบการเน่าเสียของอาหาร