การศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมของดอกไม้ซึ่งพบในสภาพภูมิศาสตร์ ที่แตกต่างกันในจังหวัดสุพรรณบุรี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กัญญ์นิษฐา พงษ์พิละ, ณัฐภา เทียนงาม, สุภัสสรา ตู้พิจิตร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิมพ์รดา เพิ่มพูล, นิสา จุลโพธิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมของดอกไม้ซึ่งพบในสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันในจังหวัดสุพรรณบุรี (A study of total antioxidant content of flowers found in different geographical locations in Suphanburi province) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมจากส่วนดอกของดอกไม้ 3 ชนิด ที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมของดอกเฟื่องฟ้าในบริเวณที่พบดอกเฟื่องฟ้าหนาแน่นในสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันในจังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมของดอกเฟื่องฟ้าสีต่างๆ ศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมของดอกเฟื่องฟ้าทั้งดอกกับดอกเฟื่องฟ้าเฉพาะส่วนใบประดับ และศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมของดอกเฟื่องฟ้าที่ได้จากกรรมวิธีในการประกอบอาหารที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า ดอกเฟื่องฟ้า เป็นดอกไม้ที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมสูงกว่าดอกชบาสีแดง และดอกเข็มสีแดง โดยดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูอมขาวที่เก็บจากอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวม (1334.18+0.01 mg AA/100 g sample) สูงกว่าดอกเฟื่องฟ้าสีอื่นๆ ที่เก็บจากบริเวณเดียวกัน และยังพบว่า ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมของดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูอมขาวเฉพาะส่วนใบประดับ มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวม (1719.58+0.01 mg AA/100 g sample) สูงกว่าดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูอมขาวทั้งดอก (1334.18+0.01 mg AA/100 g sample) นอกจากนี้ยังพบว่ากรรมวิธีในการประกอบอาหารมีผลต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวม โดยดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูอมขาว แบบสด (1719.58+0.01 mg AA/100 g sample) แบบตากแห้ง (1718.62+0.01 mg AA/100 g sample) และแบบลวก (1716.64+0.01 mg AA/100 g sample) มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมสูงใกล้เคียงกัน ส่วนกรรมวิธีในการประกอบอาหารที่มีการผ่านความร้อนสูงและเป็นเวลานาน จะมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวมลดลง