การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยพลาสติกชนิดโพลิเอทธิลินของแบคทีเรียที่ถูกคัดแยกจากลำไส้หนอนผีเสื้อกลางคืน(Galleria mellonella)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปรภาว์ กลางสาทร, เวอร์จิเนีย มนัสปิยะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อาจรีย์ ธิราช
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 3-4 ล้านตันต่อปี และการจัดการขยะที่ไร้ประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องต่อมนุษย์และสัตว์ พลาสติกที่ย่อยสลายไม่สมบูรณ์กลายเป็นพลาสติกชิ้นเล็กๆ เรียกว่า ไมโครพลาสติก ซึ่งปนเปื้อนในธรรมชาติ เมื่อสัตว์กินเข้าไป ก็สามารถส่งผลกระทบถึงมนุษย์ได้ โดยจะได้รับไมโครพลาสติกเข้าร่างกายจากระบบห่วงโซ่อาหาร และหนึ่งในวิธีการกำจัดไมโครพลาสติกคือการใช้แบคทีเรียในการย่อย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการคัดแยกชนิดของแบคทีเรียจากลำไส้หนอน และ ศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยพลาสติกของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าหนอนนก หนอนยักษ์ และหนอนผีเสื้อกลางคืนสามารถกัดกินพลาสติกได้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาแบคทีเรียในลำไส้หนอนผีเสื้อกลางคืน โดยการคัดเลือก และจำแนกชนิดของแบคทีเรียที่มีอยู่ในลำไส้ของหนอน เพื่อนำไปใช้ศึกษาประสิทธิภาพการย่อยพลาสติกชนิดโพลิเอทธิลีน (Polyethylene; PE)
วิธีการศึกษาวิจัย จะเริ่มจากการนำหนอนผีเสื้อกลางคืน(Greater Wax worm; Galleria mellonella) มาเลี้ยง โดยให้กินพลาสติกชนิดโพลิเอทธิลินเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อกระตุ้นการเกิดแบคทีเรียในลำไส้ แล้วนำลำไส้หนอนมาทำการคัดแยกแบคทีเรียออกมาในสภาวะปลอดเชื้อ จากนั้นเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย และนำไปจำแนกประเภทของแบคทีเรียโดยใช้การทดสอบทางชีวเคมี (Biochemical Test) ร่วมกับการวิเคราะห์ทางสัณฐานวิทยา และนำแบคทีเรียแต่ละชนิดที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลายพลาสติกด้วยการใส่พลาสติกร่วมกับการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย โดยก่อนและหลังใส่พลาสติกจะทำการวัดมวลของพลาสติก พร้อมกับส่องโครงสร้างของพลาสติกโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลที่ได้จะประเมินถึงชนิดแบคทีเรียที่พบในลำไส้ และประสิทธิภาพการย่อยพลาสติกของแบคทีเรียที่แยกมาได้