การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดใบฟ้าทะลายโจรและลำต้นหงอนไก่ป่ายับยั้งเชื้อราก่อโรคชนิดใหม่ในยางพารา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุชานันท์ เเจ้งสว่าง, ทิพาภรณ์ เอียดนุช, ชนิกานต์ ยุจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เจ๊ะอับเซ๊าะ กาสาเอก

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบใบฟ้าทะลายโจรและลำต้นหงอนไก่ป่ายับยั้งเชื้อราก่อโรคชนิดใหม่ในยางพารามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบแต่ละความเข้มข้นจากใบฟ้าทะลายโจร และลำต้นหงอนไกป่าในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา โดยมีเชื้อรา Colletotrichum spp. เป็นสาเหตุโรค ทำให้เกิดใบร่วงและน้ำยางผลิตได้น้อยลง จึงมีแนวทางในการนำพืชสมุนไพรมายับยั้งเชื้อรา Colletotrichum spp. แทนการยับยั้งโดยใช้สารเคมี โดยวิธี paper disc agar diffusion พบว่าสารสกัดหยาบจากใบฟ้าทะลายโจรความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร, 10,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และสารสกัดหยาบจากลำต้นหงอนไก่ป่า 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราเมื่อเปรียบเทียบกับตัวควบคุมที่เป็นเอทานอลแต่สารสกัดหยาบจากลำต้นหงอนไก่ป่า 10,000 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถควบคุมเชื้อรา และชะลอการเติบโตได้ในระยะเริ่มต้น ร้อยละ 5.72 หลังบ่มเชื้อ 24 ชั่วโมงพบว่าสารสกัดหยาบจากลำต้นหงอนไก่ป่า 10,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีขนาดของแนวยับยั้งกว้างที่สุด 14.07 มิลลิเมตร รองลงมาคือ สารสกัดหยาบจากลำต้นหงอน ไก่ป่า 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และสารสกัดหยาบจากใบฟ้าทะลายโจรความเข้มข้น 10,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีขนาด 10.60±0.37 มิลลิเมตร และ 9.60±0.27 มิลลิเมตรตามลำดับ ส่วนสารสกัดหยาบจากใบฟ้าทะลายโจรความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตรไม่มีแนวยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา