การศึกษาชนิดของข้าวที่มีผลต่อการสร้างสารสีจากเชื้อรา Monascus
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภูมิใจ เรืองสินทรัพย์, ธัญญารัตน์ อรุโณศรีสกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อารีย์ สักยิ้ม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันมีการใช้สีสังเคราะห์กันอย่างแพร่หลาย โดยในสีสังเคราะห์มีโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม คณะผู้จัดทำจึงศึกษาการผลิตสีจากธรรมชาติ โครงงาน นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดของข้าวที่มีผลต่อการสร้างสารสีของเชื้อรา Monascus และเพื่อนำสารสีที่ผลิตจากเชื้อรา Monascus ไปใช้ในการวาดภาพและระบายสีเพื่อลดจากปัญหาเรื่องการใช้สีสังเคราะห์ ในการทดลอง ได้แบ่งชุดการทดลองออกเป็น 5 ชุดโดยนำข้าว 5 ชนิดได้แก่ ข้าวขาวตาแห้งข้าว ข้าวขาวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง และข้าวไรซ์เบอรรี่จากนั้นนำมาศึกษาการผลิตสีของ Monascus โดยการ ผลิตข้าวแดงจากการบ่มเชื้อราในข้าวสุก ขั้นตอนการทดลองคือ 1. การเพาะเลี้ยงเชื้อรา Monascus เพื่อนำเชื้อราบริสุทธิ์มาใช้ 2. ศึกษาการเจริญเติบโตของเชื้อรา Monascus บนข้าว 3. สกัดสารสี เพื่อศึกษาคุณสมบัติของสารสีจากเชื้อรา Monascus 4. นำสารสีที่ได้ไปต่อยอดทำสีและวัดคุณภาพของสีน้ำ จากการทดลอง นำสารสีที่ได้ไปวัดค่าดูดกลืนแสงด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ที่ความยาวคลื่น 500 µm และวิเคราะห์ผล ได้ผลการทดลองว่า ข้าวที่มีความเหมาะสมต่อการสร้างสารสีของเชื้อรา Monascus คือ ข้าวขาวตาแห้ง และข้าวกล้อง โดยมีค่า OD unit เฉลี่ยคือ 1.81 A และ 1.05 A ตามลำดับ จึงสามารถสร้างสารสีแดงได้ดีกว่าข้าวชนิดอื่น ๆ