การศึกษาปฏิกิริยาการเปลี่ยนกรดอะซิทิเลนิกเป็นอีนอลแลคโตน โดยใช้ตัวเร่งไอออนทองด้วยวิธีการคำนวณเชิงทฤษฎี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เสฎฐวุฒิ เสวตานนท์, กรวีร์ นิชรานนท์, เตชินท์ นงรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สาโรจน์ บุญเส็ง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ทองไอออนทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนสารจำพวกกรดอะเซทิเลนิกไปเป็นอีนอลแลกโตน โดยสารอินอลแลกโตนเป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่ไฮดรอกซิลที่ติดอยู่กับหมู่แอลคีน และยังพบว่าทองทำหน้าที่เป็นตัวเร่งและมีผู้วิจัยศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยาด้วยการทดลอง ซึ่งวิธีการดังกล่าวใช้เวลา มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และยังไม่ทราบโครงสร้างของสารที่แน่นอนในแต่ละขั้นตอนของการเกิดปฏิกิริยา เพื่อให้เข้าใจกลไกการเกิดปฏิกิริยาของอะตอมโลหะทองที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ วิธีการหนึ่งที่สามารถเข้าใจถึงกลไกที่เกิดขึ้นได้แก่ การใช้การจำลองทางด้านโมเลกุล การจำลองทางด้านโมเลกุล หรือ การใช้การคำนวณทางด้านเคมีคำนวณ เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยให้เข้าใจกลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมี สมบัติทางด้านเทอร์โมไดนามิกส์ ธรรมชาติของสาร เป็นต้น วิธีการคำนวณทางด้านเคมีมีวิธีที่หลากหลาย เช่น วิธีการประมาณค่าด้วยวิธีฮาร์ทรี-ฟอร์ก การประมาณค่าด้วยวิธีเพเทอร์เบชัน หรือ วิธีการโดยใช้ทฤษฎีฟังก์ชันนอลความหนาแน่น (Density Functional Theory, DFT) ในโครงงานนี้จะใช้วิธี DFT ในการศึกษาจึงจะกล่าวถึงบทบาทของ DFT เท่านั้น