ผลิตภัณฑ์กันกระแทกจากเปลือกถั่วลิสงที่เป็นมิตรกับผู้ค้าออนไลน์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณิชารีย์ พาชอบ, อาทิตยา ปานอ่อน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กฤษฎารัตน์ เครื่องชนะ, ธิดา เพชรคง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันโลกของเรามีการพัฒนาแพลตฟอร์มการขายของแบบออนไลน์เกิดขึ้น โดยผู้ขายจะนำสินค้าไปวางขายในพื้นที่ของร้านค้า ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันขายสินค้าหรือแอคเคาท์ของร้านบนแอปพลิเคชันต่างๆ มีการติดต่อสอบถามลักษณะและสรรพคุณของสินค้าผ่านการส่งข้อความหากันในแต่ละแพลตฟอร์มระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มีการชำระเงินผ่านการโอนเงินหรือการเก็บเงินปลายทาง ผู้ซื้อจะได้รับสินค้าผ่านการขนส่งของบริษัทขนส่งที่ผู้ขายไปใช้บริการ ในการขนส่งสินค้านั้นผู้ขายจะต้องป้องกันไม่ให้สินค้าได้รับความเสียหายจากการขนส่ง เนื่องจากถ้าเกิดความเสียหายกับสินค้า ผู้ขายจะต้องชดเชยให้กับผู้ซื้อไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการคืนเงินหรือการส่งสินค้าใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ว่าเลือกทางใดก็มีแต่ทางเลือกที่ทำให้ขาดทุน จึงทำให้ผู้ขายหลายรายหันมาป้องกันโดยการใช้วัสดุกันกระแทกหรือ “บับเบิ้ล” กันมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ที่ใช้ก็จะเป็นวัสดุกันกระแทกที่มีส่วนประกอบหลักมาจากพลาสติก เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าส่วนใหญ่ก็จะนำวัสดุกันกระแทกมาทิ้งเป็นขยะ ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกตามมา ผู้จัดทำจึงได้คิดที่จะประดิษฐ์วัสดุกันกระแทกที่มีส่วนประกอบหลักมาจากธรรมชาติ ช่วยลดขยะพลาสติกและย่อยสลายง่าย รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้อีกด้วย โดยนำความรู้ด้านวัสดุศาสตร์มาใช้ในการดำเนินงาน ผู้จัดทำจึงได้คิดที่จะประดิษฐ์วัสดุกันกระแทกที่มีส่วนประกอบหลักมาจากธรรมชาติ สามารถช่วยลดขยะจากพลาสติกและสามารถรถสลายได้ง่าย รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้อีกด้วย โดยนำความรู้ด้านการออกแบบแม่พิมพ์จากโปรแกรม Sketchup และใช้ 3D printer เพื่อพิมพ์วัสดุกันกระแทกต้นแบบออกมา ทั้งยังใช้ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์มาใช้ในการดำเนินงาน ผู้จัดทำได้เลือกวัสดุเปลือกถั่วลิสงมาเป็นวัสดุหลัก เนื่องจากเปลือกถั่วลิสงย่อยสลายได้ง่าย และยังเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้อีกด้วยโดยนำเปลือกถั่วลิสงแห้งและซังข้าวโพดแห้งมาทำการป่นให้ละเอียด ผสมกับกาวแป้งเปียก แล้วนำมาขึ้นรูปตามต้นแบบ และใช้ความรู้ด้านสาขาฟิสิกส์ เรื่องการหาค่ายังมอดูลัสและการทดสอบแรงกดมาใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ