ผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการแตกออกของเปลือกไข่ยุงลายร่วมรักษ์น้ำแทนการใช้สารเคมีจากทรายอะเบท

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ศิริกร วารี, เกวลิน นิมมานนรวงศ์, อธิปัญญ์ เทพทอง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ลำดวน บุญรังษี, ฉันทนา บุญมาก

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสงวนหญิง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ยุงเป็นพาหะนำโรคทำให้เกิดโรคติดต่อแพร่กระจายได้รวดเร็วหนึ่งในวิธีการควบคุมลูกน้ำยุงลายคือการใช้ Temephos ที่อยู่ในทรายอะเบทซึ่งเป็นสารปนเปื้อนในน้ำมากกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด (2-5 gms) งานวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยกำจัดเอมบริโอในไข่ยุงด้วยสารสกัดจากธรรมชาติร่วมกับปรับปรุงคุณภาพของน้ำโดยศึกษาชนิดของพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อการยับยั้งการสลายไคตินของเปลือกไข่ยุงลายและศึกษาปริมาณที่เหมาะสมโดยทำการศึกษาน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาตะไคร้หอมและสะระแหน่พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบสะระแหน่ที่สกัดจากใบสะระแหน่จำนวน 5 กรัมสามารถยับยั้งการสลายตัวไคตินของเปลือกไข่ยุงลายได้ดีที่สุดเนื่องสารที่อยู่ในใบสะระแหน่โดยมีค่า BOD DO5 และปริมาณสารคาร์บาเมตตกค้างเท่ากับ 3.00 mg / L, 14.60 mg / L, และ 3.63 mg / 1 ตามลำดับต่อมาศึกษาชนิดของพืชในท้องถิ่นที่มีผลต่อการรักษ์น้ำพบว่าสารสกัดจากลำต้นของผักบุ้งจีนโดยใช้ลำต้นผักบุ้งจีนจำนวน 30 กรัมสกัดในน้ำกลั่น 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรมีผลต่อการรักษ์น้ำมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำในชุดควบคุมคุณภาพน้ำหลังการใช้สารสกัดจากลำต้นผักบุ้งจีนมีค่า SOD เท่ากับ 3.10 mg / ค่า DO, เท่ากับ 14.60 mg และปริมาณสารคาร์บาเมตตกค้างเท่ากับ 3.63 mg / และศึกษาอัตราส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากใบสะระแหน่และสารสกัดจากลำต้นผักบุ้งจีนที่เหมาะสมต่อการยับยั้งการสลายไคตินของเปลือกไข่ยุงลายและรักษ์น้ำโดยพบว่าอัตราส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากใบสะระแหน่และสารสกัดจากลำต้นผักบุ้งจีนที่เหมาะสมที่สุดคือ 1: 2 โดยมวลต่อปริมาตรเพื่อความสะดวกในการใช้สารยับยั้งการสลายตัวของไคตินแบบรักษ์น้ำจะใช้แบบผงโดยมีใบสะระแหน่และลำต้นผักบุ้งจีนผสมกันเป็นตัวดูดซับวิธีใช้สารยับยั้งการสลายตัวของไคตินแบบรักษ์น้ำที่เหมาะสมคือ 0.5 กรัมต่อน้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร