ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และความสามารถในการดูดซับโลหะหนักของคนทีสอทะเล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

มินตราลักษณ์ พรหมมณี, วรางคณา อยู่ด้วง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นุสรา คงทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยี การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม นั้นก้าวไกลไปอย่างมากทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้น สามารถจัดการกับทรัพยากรได้ดีขึ้น คุณภาพชีวิตของผู้คนถูกยกระดับขึ้นในหลายๆด้าน แต่ในทางกลับกัน ความก้าวหน้าเหล่านี้ก็มีผลเสียไม่แพ้กัน อันจะได้เห็นปัญหาใหญ่ที่มักจะพบในชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก พีวีซี สี ถ่านไฟฉาย

นั่นคือการปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมเกินขีดจำกัด ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงและยากต่อการแก้ไข หนึ่งในผลกระทบนั้นคือการรั่วไหลปนเปื้อนของโลหะหนักในแหล่งน้ำ น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในการดำรงชีพ

คนทีสอทะเลเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ คนทีสอทะเลมีถิ่นกำเนิดในเอเชียไปจนถึงประเทศออสเตรเลียโดยมีสรรพคุณหลากหลายเช่นช่วยแก้อาการฟกช้ำ ใช้รักษาโรคเอดส์ ช่วยรักษาโรคตับ ช่วยฆ่า เชื้อราได้ดี และมีสรรพคุณอื่น ๆอีกมากมาย ส่วนของใบคนทีสอทะเลมีน้ำมันหอมระเหยเป็นของเหลวใสสีเหลืองมีกลิ่นเฉพาะตัวถึง 55% ซึ่งมีสาร เบต้า-แคริโอฟิลลิน (beta-caryophyllene),อัลฟ่า-เทอร์พินีน(alpha terpinene),แอล-ดี-พินีน (l-d-pinene), แคมฟีน (camphene),เทอร์พินิล เอซเทต(terpinyl acetate),(diterpene alcohol) เมล็ดมีสารพวก acetic acid, malic acid, acid resin และนํ้ามันหอมระเหย ประกอบด้วย 55% camphene 20%, limonene pinene และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟินอลิก คาเฟอิก ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระนี้สามารถยับยั้งเชื้อราที่เกิดจากผิวหนังได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นคณะผู้จัดทำมีความสนใจที่จะศึกษาสารทีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เปรียบเทียบปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่สะสมตามส่วนต่างๆของลำต้น ได้แก่ใบ ดอก ต้น ราก และทดสอบความสามารถในการดูดซับโลหะหนักของพืชคนทีสอทะเล