ไบโอชาร์ของเปลือกแมคคาเดเมียจากกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิมพ์รพี อร่ามทอง, ภูดินันท์ มีนาบุญ, สุชญา ติรพงศ์พร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยพัฒนาเปลือกแมคคาเดเมียให้มีลักษณะคล้ายถ่านหิน หรือมีคุณสมบัติทางความร้อนที่สูงขึ้น เป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากชีวมวลได้มากกว่ากว่าการเผาไหม้อย่างเดียว ในเบื้องต้นเปลือกแมคคาเดเมียจะถูกเปลี่ยนรูปด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอล ที่อัตราส่วนน้ำหนักน้ำต่อวัสดุคือ 100:20 115:5 110:10 โดยอาศัยเวลาการทำปฏิกิริยาระหว่าง 3-12 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิคงที่ 200 องศาเซลเซียส จากนั้นผลิตภัณฑ์ของแข็งที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์ค่าความร้อน และ องค์ประกอบคาร์บอนในผลิตภัณฑ์ พบว่าเวลาที่นาน 12 ชั่วโมงทำให้ค่าพลังงานความร้อนมากขึ้นแต่ไม่มีนัยะ ส่วนอัตราส่วนน้ำหนักน้ำต่อวัสดุพบว่าไม่มีผลมาก ทำให้ในการศึกษาต่อไปจะเริ่มศึกษาที่เปลี่ยนอุณหภูมิ และใช้เวลา 3 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า และที่อัตราส่วนที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุ 100:20 หรือน้อยกว่า ต่อไป