เปรียบเทียบประสิทธิภาพของไซโตไคนินจากน้ำมะพร้าวและหัวไชเท้าที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นหนอนตายหยากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรานันท์ เพ็งสอน, กมลชนก สมอินทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กัลยาณี วัฒนธีรางกูร, ยุวดี สุวรรณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ต้นหนอนตายหยากเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา เหง้าหรือรากมีรสขมชุ่ม เป็นยาร้อนเล็กน้อย มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอดและม้าม ใช้เป็นยาแก้ไอเย็น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ อาการไออันเนื่องมาจากเป็นวัณโรค ช่วยขับเสมหะและรักษาวัณโรค บางงานวิจัยระบุว่าต้นหนอนตายหยากสามารถใช้เป็นยาแก้ภูมิแพ้ได้ โดยใช้รากของต้นหนอนตายหยากและใบหนุมานประสานกาย (สดหรือแห้งก็ได้) อย่างละเท่ากันนำมาต้มกับน้ำ ดื่มขณะยังอุ่นแทนน้ำทุกวัน จะช่วยแก้อาการของโรคภูมิแพ้ รวมถึงช่วยละลายเสมหะ และลดอาการไอได้ด้วย

การขยายพันธุ์ต้นหนอนตายหยากด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้เหง้าปักชำ ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ในปริมาณมาก เพื่อให้ได้ต้นหนอนตายหยากในปริมาณมากจึงต้องใช้วิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้สารไซโตไคนินจากน้ำมะพร้าวและฮอร์โมนหัวไชเท้ามาเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของต้นหนอนตายหยาก