การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพจากเซลลูโลสแบคทีเรีย Acetobactor xylinum และการนำกลับมาใช้ใหม่

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชญานิน เเสงใส, ณัฏฐาภรณ์ พลรบ, กวีพงษ์ แกล้วกล้า

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำทิพย์ ศรีแก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพจากเซลลูโลสแบคทีเรีย Acetobacter xylinum และการนำกลับมาใช้ใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพจากเซลลูโลสแบคทีเรีย Acetobacter xylinum และการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยแบ่งกระบวนการทดลองเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum 2) การศึกษาลักษณะทางกายภาพของพอลิเมอร์ชีวภาพ 3) การทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันของพอลิเมอร์ชีวภาพ โดยใช้ระยะเวลา เป็น 2, 4, 6, 8, 10 และ 12 นาที 4) การศึกษาการนำแผ่นพอลิเมอร์ชีวภาพกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้ระยะเวลาในการดูดซับที่ดีที่สุดจากขั้นตอนที่ (3) ชะล้างน้ำมันด้วยเอทานอล 95% ทำการกวนผสมประมาณ 100 รอบต่อนาที เป็นระยะเวลา 1 นาที ด้วยเครื่อง Magnetic Stirrer จากนั้นนำไปอบจนพอลิเมอร์แห้งสนิททุกครั้งก่อนนำมาใช้ใหม่ จากการศึกษาการดูดซับน้ำมันด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพจากเซลลูโลสแบคทีเรียน Acetobacter xylinum จากการททดลองได้แผ่นพอลิเมอร์ชีวภาพที่ในระยะการบ่ม 10, 15 วัน มีความหนาเฉลี่ย 8.73, 9.79 มิลลิเมตร ตามลำดับ และน้ำหนักเฉลี่ย 771.6, 948.98 กรัม ตามลำดับ ขณะนี้อยู่ในช่วงการทำให้แห้งด้วยเครื่อง Freeze dry