ผลิตภัณฑ์นมทางเลือกจากถั่วลูกไก่และเมล็ดทานตะวัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ดวงแก้ว ตันติกุลวิจิตร, กชพร สุรพัฒน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มนรวัส เอี่ยมทอง, ศิวัฒ ไทยอุดม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

นมวัวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมักถูกใช้ในการประกอบอาหารในหลายๆเมนู ถึงอย่างนั้นนมวัวก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสำหรับทุกคน มีผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ไม่บริโภคนมวัว เนื่องจาก การแพ้โปรตีนในนมวัว(lactose intolerant) หรือเอนไซม์แลคเตส(lactase)บกพร่อง เป็นต้น ดังนั้นความต้องการสิ่งทดแทนนมวัวจึงมีมากข้ึน ซึ่งนมจากพืชเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการใช้เป็นสิ่งทดแทนนมวัว แต่อย่างไรก็ตาม นมจากพืชในตลาดในปัจจุบันมีปริมาณโปรตีนต่ำ และถึงแม้ว่านมถั่วเหลืองจะมีโปรตีนสูงและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่รับไม่ได้กับกลิ่นเฉพาะตัวของมัน

ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงอยากพัฒนานมทางเลือกตัวใหม่ขึ้นมาโดยใช้ถั่วลูกไก่และเมล็ดทานตะวันมาเป็นวัตถุดิบหลัก เนื่องจาก ถั่วลูกไก่ เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง นอกจากนี้ถั่วลูกไก่ยังมีกลิ่นที่ดีกว่าถั่วเหลือง เพราะมีกรดลิโนเลนิกน้อยกว่าในถั่วเหลือง และเมล็ดทานตะวันเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว และ มีปริมาณไขมันอิ่มตัวต่ำ ซึ่งไขมันประเภทไม่อิ่มตัวนั้นสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง

โดยทางคณะผู้จัดทำจะทำการทดลองด้วย 5 ตัวอย่าง ที่มีอัตราส่วนถั่วลูกไก่ต่อเมล็ดทานตะวันและสารเติมแต่งจำพวกอิมัลซิไฟเออร์และสารทำให้คงตัวที่แตกต่างกัน โดยจะนำถั่วลูกไก่และเมล็ดทานตะวันมาแช่น้ำ ทำความสะอาด ปอกเปลือก ต้มสุก นำไปปั่นและกรอง แล้วนำตัวอย่างที่ได้ไปผ่านการพาสเจอไรซ์และบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีบรรจุร้อน หลังจากนั้นนำตัวอย่างที่ได้ไปตรวจวัดคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ตรงตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข แล้วจึงนำไปทดสอบความพึงพอใจจากผู้บริโภคโดยใช้วิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วยการให้คะแนนความชอบโดยใช้สเกลความชอบ 7 คะแนน

โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้คือ ผลิตภัณฑ์นมทางเลือกที่ได้มีคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ที่คล้ายคลึงกับนมวัว และสามารถใช้บริโภคทดแทนนมวัวได้ และช่วยยกระดับคุณค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ถั่วลูกไก่และเมล็ดทานตะวัน