การพัฒนาผนังยางธรรมชาติร่วมกับยางคลอโรซัลโฟเนตพอลิเอธิลีน(CSM) ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสีเอกซ์ และป้องกันการลามไฟ โดยใช้สารตัวเติมเป็นแบเรียมซัลเฟตเพื่อประยุกต์ใช้ในห้องรังสี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณภัทร บัวพา, สุจินันท์ นบน้อยเสรีวงศ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขุนทอง คล้ายทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของไทยที่ส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 และปริมาณส่งออกยางทั้งหมดของโลก ทำให้ยางพาราเป็นสินค้าที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรม โดยยางธรรมชาติ เกรด STR 20 เป็นประเภทยางแท่งที่มีปริมาณส่งออกมากที่สุดของไทย และปัจจุบันประเทศผู้ซื้อมีแนวโน้มมาใช้ยางแท่งทดแทนยางแผ่นรมควัน เพราะยางแท่งมีการกำหนดคุณภาพเป็นมาตรฐานดีกว่ายางแผ่นรมควัน แม้ว่ายางธรรมชาติจะมีข้อดีในหลายๆ ด้านแต่ยางธรรมชาติก็ยังมีข้อจำกัดในการนำไปใช้งานบางประเภท ในงานที่ต้องสัมผัสกับแสงแดด และความร้อนสูง หรือในงานที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันจึงมีการปรับปรุงข้อด้อยของยางธรรมชาติ โดยนำยางธรรมชาติไปผสมกับยางสังเคราะห์ เพื่อปรับปรุงสมบัติบางประการของยางธรรมชาติให้ดีขึ้น ซึ่งยางคลอโรซัลโฟเนตพอลิเอทธิลีน (CSM) ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทธิลีน และของผสมของก๊าซคลอรีนกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทั้งคลอรีน และกำมะถันจะกระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบอยู่บนสายโซ่หลักของโมเลกุล จึงทนต่ออุณหภูมิต่ำ ความต้านทานต่อการขัดถู คุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า มีสมบัติเชิงกลที่ดีเยี่ยม ทนทานต่อสารเคมี จึงนิยมนำไปใช้ในการเป็นวัสดุประสานเพื่อขึ้นรูปเป็นสิ่งของต่างๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรม ด้านวัสดุกรรมศาสตร์ และด้านการแพทย์ ในทางการแพทย์นิยมใช้รังสีเอกซ์วินิจฉัยโรค แต่ถ้าหากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เนื้อเยื่อที่ไม่ใช่แค่คนไข้หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน แต่รังสีเอกซ์จะกระเจิงไปทั่วทิศทางในห้อง ซึ่งอาจทะลุผ่านผนังห้องไปสู่ผู้คนด้านนอกห้องได้ เพื่อไม่ให้รังสีลอดผ่านจนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจึงต้องมีการสร้างผนังห้องที่สามารถป้องกันรังสีเอกซ์ได้ โดยปกติแล้ววัสดุที่ใช้ในห้องฉายรังสีเอกซ์ เช่น ผนัง คอนกรีต กระจกใส มักมีส่วนผสมของโลหะตะกั่ว แต่ด้วยตะกั่วเป็นโลหะที่มีความหนาแน่นสูง จึงมีความเป็นพิษต่อร่างกาย เมื่ออุปกรณ์กันรังสีพวกนี้หมดอายุการใช้งาน ก็ไม่สามารถทิ้งรวมกับขยะทั่วไปได้เนื่องจากต้องบำบัดอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม องค์การนานาชาติด้านการป้องกันอันตรายจากรังสีเอกซ์จึงมีการรณรงค์ให้ใช้วัสดุอื่นทดแทนตะกั่ว ซึ่งแบเรียมซัลเฟตเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสีเอกซ์ เป็นสารทึบแสงสำหรับให้ผู้ป่วยกลืนในกรณีที่ต้องการวินิจฉัยโรคบริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ใหญ่ ซึ่งสามารถขับถ่ายได้ตามธรรมชาติโดยที่ไม่เกิดสารพิษตกค้าง และเป็นที่ยอมรับในทางการแพทย์ว่ามีความปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นสารดูดกลืนรังสีเอกซ์แทนตะกั่วจากเหตุผลข้างต้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะนำยางธรรมชาติ เกรด STR 20 ที่สามารถนำไปแปรรูปได้ง่ายและราคาถูกกว่ายางแผ่นร่วมกับยางคลอโรซัลโฟเนตพอลิเอทธิลีน (CSM) ที่มีคุณสมบัติป้องกันการลามไฟมาพัฒนาเป็นผนังยางและใช้สารตัวเติมเป็นแบเรียมซัลเฟตซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทดแทนการใช้ตะกั่ว โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นวัสดุป้องกันรังสีเอกซ์ในห้องรังสีเพื่อไม่ให้ผู้คนได้รับอันตรายต่อร่างกายหรือเซลล์เนื้อเยื่อ