การศึกษาการวางตัวของกู่มหาธาตุในจังหวัดมหาสารคามเทียบกับการวางตัวของปราสาทหินพนมรุ้ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยะธิดา วงษา, ธนกฤษ คำหาญ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กุลวรรณ สวนแก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนผดุงนารี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการวางตัวของกู่มหาธาตุในจังหวัดมหาสารคามเทียบกับการวางตัวของปราสาทหินพนมรุ้ง ได้ศึกษาการศึกษาการวางตัวของกู่มหาธาตุในจังหวัดมหาสารคามเทียบกับการวางตัวของปราสาทหินพนมรุ้ง จากการศึกษาพบว่า การวางตัวของกู่มหาธาตุนั้น ได้มีการออกแบบและมีแนวคิดเดียวกันกับปราสาทหินพนมรุ้ง มีความสัมพันธ์กับดางอาทิตย์โดยปราสาทหินพนมรุ้งและกู่มหาธาตุได้มีการวางตัวโดยหันหน้าทำมุมAzimuthประมาณ 85 องศา ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงจากดวงอาทิตย์ลอดผ่านประตูปราสาทหินพนมรุ้ง15 ช่องและกู่มหาธาตุในช่วง1-3 เมษายน และ10-12 กันยายน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในวันสำคัญทางศาสนา จะเห็นได้ว่าในยุคโบราณได้นำเอาความเชื่อและอิงความรู้ตามดาราศาสตร์เพื่อนำมาสร้างเป็นโบราณสถานขึ้นมา มีการหันหน้าเข้าราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีสำคัญของพราหมณ์-ฮินดู และยังสอดคล้องกับวันขึ้น15ค่ำ เดือน5หรือวันเพ็ญเดือนไจตระ ซึ่งในจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีการกล่าวถึงวันดังกล่าว