แอพพลิเคชั่นสำหรับมือถือเพื่อวินิจฉัยโรคในใบข้าว โดยใช้Deep Learning ในการวิเคราะห์ภาพถ่าย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ตะวัน สุรนารถ, ทีปรากอน อึ้งไชยพร, ธนวัฒน์ วันเรืองโชค

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์, เจตนิพิฐ แท่นทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันพืชเศรษฐกิจมีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือข้าว ข้าวได้กลายมาเป็นรายได้หลักของเกษตรกรและชาวนาในประเทศไทย

โดยมีการส่งออกข้าวไปต่างประเทศ ข้าวที่มีการส่งออกมากที่สุดคือข้าวขาวพื้นแข็ง นอกจากนี้ประเทศไทยได้ส่งข้าวหอมมะลิ,ข้าวหอมมะลิไทย,ข้าวเหนียว

ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไปตามฤดูกาล แต่ในการเพาะปลูกข้าวนั้นได้พบปัญหาที่เกิดขึ้น นั้นก็คือโรคต่างๆที่เกิดในใบข้าว

เช่น โรคกาบใบเน่า , โรคเมล็ดด่าง , โรคกาบใบแห้ง , โรคขอบใบแห้ง , โรคใบขีดสีน้ำตาล , โรคใบจุดสีน้ำตาล และ โรคใบวงสีน้ำตาล ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่แยกด้วยตาเปล่าได้ยาก

จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ นอกจากนี้ในการใช้ยารักษาสำหรับโรคในใบข้าวนั้น หากใช้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของโรคในใบข้าว อาจทำให้ข้าวมีอาการแย่ลงกว่าเดิมอีกทั้งยัง เสียเวลา และค่าใช้จ่ายเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจ นำเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก(Deep Learning)มาช่วยในการเเก้ไขปัญหา โดยการนำรูปถ่ายไปให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ จนเกิดเป็นโมเดลจำลองขึ้นมา นอกจากนี้ทางคณะผู้จัดทำ

สนใจในการสร้าง Application เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับตัวโมเดลดังกล่าว เพื่ออำนวยสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

ผู้จัดทำจึงได้สนใจทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง แอพพลิเคชั่นสำหรับมือถือเพื่อวินิจฉัยโรคในใบข้าว โดยใช้ Deep Learning ในการวิเคราะห์ภาพถ่าย แล้วแสดงผลลัพธ์%โอกาสความเป็นไปได้ ของโรคในใบข้าว พร้อมบอกสาเหตุทั่วไป

วิธีการรักษา และ สามารถแนะนำยารักษาเบื้องต้นพร้อมบอกสถานที่จำหน่ายใกล้เคียงได้