เครื่องหั่นข้าวเกรียบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นูดฟิตรีน ลงซูซา, นุรไฮฟาร์ สีรอมา, นูรฟารีซา ยูโซ๊ะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รอสือลี สาเม๊าะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาข้อมูลประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสพบว่าอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล มีการประกอบอาชีพการประมง มีการจับปลาและอาหารทะเลเป็นจำนวนมาก บางครั้งจะมีบางส่วนเหลือจากการขายและบริโภค ทำให้เกิดการแปรรูปอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารเสียเปล่า ในขณะดียวกันก็เป็นการสร้างอาชีพ ในชุมชนดังกล่าว ดังเช่นการแปรรูปข้าวเกรียบปลาที่สร้างความนิยม โดยมีประชาชนจำนวนมากนำมาบริโภคด้วยความอร่อย และสิ้นค้าพื้นเมืองของจังหวัดนราธิวาส แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตข้าวเกรียบจนเสร็จสิ้นนั้นมีความซับซ้อน ใช้เวลาในการหั่นมาก วิธีการหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้คือ มีเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกเพื่อร้นระยะเวลาในการหั่นให้เร็วขึ้น ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มมีความสนใจในการที่จะประดิษฐ์เครื่องหั่นข้าวเกรียบปลา เพื่อแก้ปัญหาแก้ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลา ขนาดและรูปร่างที่ไม่เท่ากันของข้าวเกรียบปลา ให้ได้แผ่นข้าวเกรียบที่มีรูปร่างเท่ากัน และประหยัดเวลากว่าการหั่นด้วยมือ
เครื่องหั่นข้าวเกรียบปลาสามารถลดระยะเวลาในการหั่นข้าวเกรียบ และทำให้แผ่นข้าวเกรียบที่ได้มีขนาดเท่ากัน ได้ดีกว่าการหั่นด้วยมือตามปกติ
จากการทดลองสิ่งประดิษฐ์โดยใช้ผู้ทดสอบจำนวน 10 คน ทำการทดสอบการหั่นข้าวเกรียบด้วยมือ และการหั่นข้าวเกรียบด้วยเครื่องหั่น โดยจับเวลาเท่ากัน 10 วินาที พบว่าการหั่นด้วยมือเฉลี่ยได้ประมาณ 3 ชิ้น และความหนาไม่สม่ำเสมอ แต่เมื่อนำมาทดลองกับเครื่องหั่นที่ประดิษฐ์ขึ้น พบว่าภายในเวลา 10 วินาที เครื่องหั่นสามารถหั่นข้าวเกรียบเฉลี่ยได้ประมาณ 30 ชิ้น และมีความหนาที่สม่ำแสมอ