การพัฒนาสารเคลือบผิวจากว่านหางจระเข้เเละสารสกัดขมิ้นชันเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาลำไย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธัญรดา น้ำเงินสกุลมี, วนัชพร เกิดไชย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งของโลกในแต่ละปีมีผลผลิต มากมาย ซึ่งในปัจจุบันการเพาะปลูกหรือเพาะเลี้ยงไม่ได้มุ่งเพื่อบริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียว ยังส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามปรับปรุงและพัฒนา คุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาดส่งออกมากยิ่งขึ้น ในปี 2565 ช่วง 6 เดือน แรก ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกผลไม้สดเกิน 1 ล้านตันและทําได้รายได้กว่า 90,000 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร, 2565) และลําไยก็เป็นหนึ่งในผลไม้เศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศไทย มีการส่งออกและ ทํารายได้ต่อปีไม่ต่ำกว่า 19,000 ล้านบาท ปริมาณลําไยที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อการส่งออกผลสดมีอัตราการ ส่งออกจริงเพียง 17.89% เท่านั้น (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2565) ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตบางส่วนไม่ได้ มาตรฐานและคุณภาพการส่งออกประกอบกับการจัดการหลังเก็บเกี่ยวที่ไม่เหมาะสม ซึ่งกระทบต่อคุณภาพ ของลําไยส่งผลให้ลําไยมีคุณภาพต่ำ มีอายุการเก็บรักษาสั้นลง
ดังนั้นจึงจําเป็นต้องมีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพของลําไย ระหว่างการขนส่งและการวางจําหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการใช้สารเคลือบผิวผลผลิตทางการเกษตร ถือว่าเป็นวิธีการที่นิยมนํามาใช้เพื่อยืดอายุการวางจําหน่ายและการรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวโดยสารเคลือบ ผิวจะช่วยชะลอกระบวนการสุก การสูญเสียน้ําหนัก และการเสื่อมสภาพของผลผลิตได้เป็นอย่างดี การเคลือบ ผิวผลไม้จะไปทดแทนแวกซ์ตามธรรมชาติที่สูญเสียไปจากการล้างทําความสะอาดโดยการเคลือบผิวผลผลิตจะ ช่วยปิดรอยเปิดตามธรรมชาติ รวมทั้งรอยแผลที่เกิดขึ้นภายหลังการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว โดยสาร เคลือบผิวช่วยลดอัตราการหายใจและลดการสังเคราะห์เอทิลีนลงด้วยทั้งนี้เนื่องจากการเคลือบผิวสามารถ จํากัดการแลกเปลี่ยนแก๊สทําให้ภายในผลมีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ําและคาร์บอนไดออกไซด์สูง ส่งผลให้ กระบวนการสังเคราะห์เอทิลีนหยุดชะงัก (ดนัยบุณยเกียรติ, 2540) นอกจากนี้การเคลือบผิวยังช่วยชะลอการ เกิดของโรคหลังการเก็บเกี่ยวและช่วยเพิ่มลักษณะที่ดีระหว่างการการขนส่งและการเก็บรักษา
ว่านหางจระเข้เป็นพืชที่นิยมนํามาใช้ในทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน โดยพบว่าเนื้อเยื่อส่วนวุ้นใส (mucilage) สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอรอลในเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการบวมและสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ (EshunandHe,2005) ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์และสรรพคุณมากมาย จากงานวิจัยพบว่าขมิ้นชันมีสารเคอร์คิวมินและ สารฟีนอล เคอร์คิวมินและฟีนอลที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการต้านทานการทํางานของ เชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น Staphylococcusspecies and Bacillusspecies E. coliClostridiumspecies อีกทั้งเคอร์คิวมินยังยับยั้งยีสต์ได้ และสารสกัดน้ํามันหอมระเหยจากชั้นเอทิลอะซิเตท และเฮกเซนของขมิ้นชัน สามารถแสดงฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์หลายชนิด เช่น Bacillus cereus, B. coagulans, B. subtilis, Staphylococcus aureus, Escherichia coli และ Pseudomonas aeruginosa ได้ (ชัชวาลย์ ช่างทํา, 2558) ดังนั้นวัตถุประสงค์ของโครงงานครั้งนี้เพื่อศึกษาการใช้สารเคลือบผิวที่ผลิตจากสารสกัดจากพืชและ
สามารถรับประทานได้ (edible coating) เพื่อรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของลําไยและเพื่อยืดอายุการ วางจําหน่ายซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถรักษาคุณภาพของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวโดยไม่เป็น อันตรายต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม