การผลิต Immunoglobulin Y (IgY) สำหรับการป้องกันและการรักษาโรคติดเชื้อ Canine Parvovirus (CPV-2) ในลูกสุนัข

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรัฐวริทธิ์ อินทรธนู, ภูมิพัฒน์ ไทยนาม, อรจรีย์ ธีระภูธร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กนกวรรณ พุ่มพุทรา, นิอร วินารักษ์วงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนโรงเรียดรุณสิกขาลัย (โครงการ วมว.)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรค Canine Parvovirus ที่มักเกิดในลูกสุนัข มีแนวโน้มความรุนแรงจากการขยายตัวของผลกระทบ

จากโรคที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ลูกสุนัขที่ติดเชื้อ Canine Parvovirus ต้องเผชิญกับโรคนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัจจุบันการรักษาโรคนี้ได้มุ่งเน้นไปที่การรักษาตามอาการ เช่น สภาวะช็อค การขาดน้ำ การติดเชื้อแทรกซ้อน

เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการฉีดวัคซีนในลูกสุนัข (Horecka และคณะ, 2020) ซึ่งจำเป็นต้องมีการฉีดเป็นระยะ

ยาว จากการศึกษาต่าง ๆ พบว่า โอกาสในการเสียชีวิตจากโรค Canine Parvovirus ในสุนัขตัวเต็มวัยมีโอกาส

เสียชีวิต 10 เปอร์เซ็นต์ และในลุกสุนัขมีมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงเห็นได้

ว่า การผลิตนวัตกรรมใหม่ในการรักษาโรค Canine Parvovirus เป็นเรื่องที่จำเป็นในด้านการแพทย์ทั้งนี้ยัง

เป็นประโยชน์ต่อด้านพาณิชยกรรมและความสะดวกสบายของผู้ที่เลี้ยงดูสุนัขรวมถึงสัตวแพทย์อีกด้วย

โดยนวัตกรรมการรักษาที่น่าสนใจในการป้องกันและการรักษาโรค ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้นและ

ทดแทนสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะ คือการสร้าง passive immunization จากแอนติบอดี้ภายในไข่แดงของไก่

(egg yolk antibody (EYA)) หรือ immunoglobulin Y (IgY) ซึ่งมีโครงสร้างและคุณสมบัติแตกต่างกับ IgG

จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดย IgY ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ในการ

วินิจฉัยโรคด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งในด้านการป้องกันและการรักษาโรคทั้งในคนและสัตว์ โดยจัดเป็น

สารชีวภาพที่ไม่มีผลกระทบในด้านการตกค้างหรือเป็นพิษต่อผู้บริโภคหรือสัตว์ที่ได้รับ นอกจากนี้ IgY สามารถ

ผลิตได้ปริมาณมาก ไม่ทำให้สัตว์เกิดความเจ็บปวดและไม่ทำให้สัตว์ทรมานจากความเครียด วิธีการทำให้

บริสุทธิ์ไม่ยุ่งยากและราคาต้นทุนต่ำ

จากข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยได้มีความสนใจในการป้องกันและการรักษาโดยใช้ IgY ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึง

ความหวังในด้านการแพทย์ต่าง ๆ เนื่องจากความจำเพาะสูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำ หากประสบความสำเร็จ

โครงการนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาทางเลือกการป้องกันและการรักษาที่คุ้มค่าและเข้าถึงได้สำหรับ Canine

Parvovirus สิ่งนี้ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของสัตว์เลี้ยงแต่ละรายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คลินิกสัตวแพทย์

ศูนย์พักพิงสัตว์ และองค์กรช่วยเหลือสัตว์สามารถให้การดูแลลูกสุนัขที่ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพและราคา

ย่อมเยา