การศึกษาการปลดปล่อยไนโตรเจนที่จำเป็นต่อพืชในรูปของไฮโดรเจลจากเปลือกส้มโอ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นันท์นภัส มีคง, สุตาภัทร จีนหลักร้อย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จิราภา ยอดเพชร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาการปลดปล่อยปริมาณไนโตรเจนที่จำเป็นต่อพืชในรูปของไฮโดรเจล เป็นการศึกษากรรมวิธีการขึ้นรูปไฮโดรเจลที่เหมาะสม และหาอัตราการปลดปล่อยไนโตรเจนที่ออกมาจากไฮโดรเจล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปริมาณสารเชื่อมขวางทร่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปไฮโดรเจล เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการอุ้มน้ำและการพองตับของไฮโดรเจล เพื่อศึกษาปริมาณยูเรียที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปไฮโดรเจล และเพื่อศึกษาปริมาณไนโตรเจนที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากไฮโดรเจล ซึ่งเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรรมหรือผู้ที่ปลูกต้นไม้

การศึกษาในครั้งนี้มีวิธีดำเนินงาน 6 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมส่วนประกอบที่ใช้สังเคราะห์ไฮโดรเจล 2) การศึกษาปริมาณสารเชื่อมขวางที่เหมาะสม 3) การศึกษาปริมาณยูเรียที่เหมาะสม 4) การศึกษาประสิทธิภาพการพองของไฮโดรเจล 5) การศึกษาปริมาณสารอาหารที่ถูกปลดปล่อยออกมา 6) การวิเคราะห์ข้อมูล

งานวิจัยฉบับนี้ได้สังเคราะห์ไฮโดรเจลที่มียูเรียเป็นส่วนประกอบ โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ได้แก่ ปริมาณเพคติน : สารเชื่อมขวาง : ยูเรีย 1 : 0.2 : 2 โดยมีอัตราการปลดปล่อยออกมาในช่วงวันที่ 1-3 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มลดลงในวันที่ 4 หลังจากดูดซับน้ำ โดยปริมาณที่ปลดปล่อยออกมาได้มากที่สุดคือ 0.92 % ในวันที่3 หลังจากดูดซับน้ำ