การศึกษาการคอมโพสิตของไคโตซานกับกลีเซอรอลและเซลลูโลสในการขึ้นรูปแผ่นฟิล์มรักษาแผลไฟไหม้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กชพร องค์ชาญชัย, ภาณินนุช เงินประโคน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วัชราภรณ์ แสนนา, เกียรติศักดิ์ บุตรสุด

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มของอาหารทะเลแปรรูป ในกระบวนการผลิตอาหารทะเลแปรรูปจะมีขยะเหลือทิ้งจำพวกเปลือกกุ้ง แกนหมึก เปลือกหอย ปริมาณมาก (ณัฐพร , 2022 ) และวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้มักไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากนัก เนื่องจากปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมจะนำกากของเสียเหล่านี้ไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงดิน หรือขายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในราคาที่ต่ำ และหากจำหน่ายไม่ได้ก็จะถูกทิ้งเป็นขยะที่ส่งกลิ่นเป็นมลพิษทางด้านอากาศให้กับคนในชุมชุน ก่อให้เกิดปัญหาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และยังเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรค การเพิ่มทางเลือกในการนำเศษกากของทะเลไปใช้จึงเป็นโจทย์ที่น่าสนใจ ที่จะนำมาเป็นแนวทางในการช่วยลดปริมาณกากของเสียอีกหนึ่งช่องทาง จากข้อมูลพบว่าในเปลือกของสัตว์กระดองแข็งจะมีไคโตซานเป็นองค์ประกอบอยู่ ซึ่งไคโตซานเป็นสารที่มีประโยชน์ในหลายด้านรวมไปถึงด้านการแพทย์ เนื่องจากไคโตซานสามารถนำไปใช้ยับยั้งเชื้อ staphylococcus aureus ได้ (Koosha , 2021) และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ดูดความชื้นได้ (Shamloo , 2021) ข้อดีของไคโตซานคือไม่เกิดผลเสีย (Suflet , 2021) ปลอดภัย และเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม จากคุณสมบัติของไคโตซานที่ได้กล่าวมาผู้พัฒนาจึงมีแนวคิดในการพัฒนาวัสดุคอมโพสิตที่มีส่วนผสมของไคโตซานกับกลีเซอรอลและเซลลูโลส เพื่อนำไปใช้ในการรักษาแผล โดยใช้สารละลายไคโตซานในการเตรียมฟิล์มที่มีความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยน้ำหนักในตัวทำละลายกรดแอซิติกมาขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม จากนั้นนำไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี คือทดสอบการบวมตัวของแผ่นฟิล์ม ทดสอบการซึมผ่านของไอน้ำ ทดสอบการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย staphylococcus aureus และคุณสมบัติทางกล