อิฐผสมขยะพลาสติก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

รามเทพ ศรีสมโภชน์, วิชชากร ทองชุม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชญากานต์ จิตเอื้อเฟื้อ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

อิฐจากขยะพลาสติก มีวัตถุประสงค์ศึกษาวิธีการผลิตอิฐจากขยะพลาสติก และศึกษาประสิทธิภาพของพลาสติกที่มีผลต่อการรับน้ำหนัก การดูดความร้อน และการดูดซึมน้ำ โดยเตรียมขยะพลาสติกและทรายหยาบในอัตราส่วน 1:3 โดยน้ำหนัก และนำเอาขยะพลาสติกมาล้างทำความสะอาด ขนาดประมาณ 5-10 มม. นำไปตากแดด แล้วทำการคั่วทรายจนมีอุณหภูมิ 180-200 °C ประมาณ 20 นาที จากนั้นเติมขยะถุงพลาสติกคนจนส่วนผสมเข้า คงอุณหภูมิไว้ในช่วง 190 -210 °C ประมาณ20 นาที สังเกตลักษณะของวัสดุจะมีสีเทาจนเกือบดำ จากนั้นเทส่วนผสมที่ได้ลงไปในแม่พิมพ์อิฐ ขนาด 25X20X6 ซม. แล้วกระทุ้งแน่นด้วยค้อนเหล็กหนักประมาณ 4–5 กม. ประมาณ 50 ครั้ง จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นตามอุณหภูมิปกติ แล้วนำอิฐผสมขยะพลาสติกที่ได้มาเปรียบเทียบกับอิฐตามท้องตลาด ถ้าอิฐผสมขยะพลาสติกมีความแข็งแรง การดูดความร้อน และดูดซึมน้ำได้มากกว่าอิฐตามท้องตลาด พบว่า พลาสติกผสมในอิฐสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของอิฐและสามารถลดต้นทุนการผลิตอิฐ