การยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum ที่ก่อโรคในกล้วยหอม โดยใช้สารเคลือบไคโตซานจากเปลือกปู

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นัจดา เเวกาจิ, อัยเซาะห์ เสมหีม, รัยยาน ตาเละ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กษิดิศ การัตน์, อูไบดิลลาห์ อัลอุมรีย์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพัฒนาวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เชื้อรา Colletotrichum เป็นสาเหตุของการเกิดโรคแอนแทรคโนส ผลเน่า โรคนี้มักก่อในพืชผล และระบาดมากในช่วงฤดูฝน เช่นกล้วยหอม โรคนี้สามารถก่อโรคทั้งก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดผลผลิตลดลงในทางการค้า และสามารถแก้วิธีได้โดยการใช้สารเคลือบผิว โดยใช้กับผลไม้ทำให้คงความสด เนื่องจากสารเคลือบผิวช่วยลดอัตราการคายน้ำออกจาก ผิวของผล และลดอัตราการหายใจ โดยใช้เศษอาหารมาใช้ประโยชน์ โดยการแปรรูปจากเปลือกปูที่เหลือ นำมาเป็นสารเคลือบ ไคตินจากเปลือกปูมาสกัดเป็นไคโตซาน ไคโตซานสามารถช่วยยั้บยั้งและชะลอการก่อโรคเน่าหลังการเก็บเกี่ยวของกล้วยหอมได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผิวของผลไม้มีความมันวาวสวยงาม และสามารถป้องกันการเกิดเชื้อราและเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้อีกด้วย และสามารถช่วยให้กล้วยหอมมีคุณภาพมากขึ้น ปลอดภัย ช่วยยืดอายุการเก็บของผลไม้ให้ได้นานขึ้น ทำให้ผลไม้ยังสดใหม่ ช่วยเพิ่มผลผลิตของกล้วยหอม และรักษาคุณภาพของกล้วยหอมได้ การทำโครงงานในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารเคลือบผลไม้จากสารสกัด ธรรมชาติ