การศึกษาสารสกัดเซลลูโลสจากตอซังข้าวดัดแปรพื้นผิวด้วยวิธี LBL(Layer by Layer) และเสริมประสิทธิภาพด้วยไคโตซานเพื่อใช้ในการดูดซับน้ำมันจากการประกอบอาหารบนผิวน้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิฟิรฮานา อัลอิดรีสี, วัรดะฮ์ ธรรมชีพ, ซอบาห์ ตันหยงดายอ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มูฮัมหมัดริฎวาน สมานุรัตน์, อูไบดิลลาห์ อัลอุมรีย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตอซังข้าวเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร มีปริมาณตกค้างประมาณ 18 ล้านตันต่อปี ภายในโครงสร้างของตอซังข้าว พบเซลลูโลสที่มีรูพรุนสูง ให้คุณสมบัติการดูดซับที่ดี และสามารถอุ้มน้ำได้ จึงนำเซลลูโลสที่สกัดได้จากตอซังข้าวมาดัดแปรพื้นผิวเพื่อให้เซลลูโลสมีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำเพิ่มขึ้น (Hydrophobic) โดยวิธี LBL (Layer by Layer) ด้วย Chitosan(CS) Carrageenan(CR) และ Montmorillonite(MMT) มาประยุกต์ใช้ให้สามารถดูดซับน้ำมันจากการประกอบอาหารบนผิวน้ำได้ และเสริมประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันด้วยการผสมไคโตซาน โดยเตรียมสารละลายพอลิเมอร์เพื่อทำการขึ้นรูปเป็นแผ่นที่มีตัวทำละลายคืออะซิโตนและน้ำกลั่นเป็น 67 11 กรัมตามลําดับและมีอัตราส่วนเซลลูโลสต่อไคโตซานเป็น 11:11 14:8 17:4 (กรัม) และ 22:0 (กรัม) ที่ไม่ผสมไคโตซานจากนั้นทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันจากการประกอบอาหารบนผิวน้ำและอาหารจากการทอดว่าอัตราส่วนใดมีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันได้ดีที่สุด