เปรียบเทียบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus จากสารสกัดน้ำมันหอมระเหยพืชวงศ์ Zingiberaceae
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศตายุ บุญศรี, ธนพล นิระ, นครินทร์ พิมพ์ลักษณ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อุมาวดี อุ่นอบ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
Staphylococcus aureus ( S.aureus ) เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างทรงกลม ลักษณะการจัดเรียงตัวของเซลล์มีลักษณะคล้ายพวงองุ่น ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เอง สร้างสปอร์ เป็นต้นเหตุสาคัญในการก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ เนื่องด้วยแบคทีเรียมีความสามารถในการสร้างสารพิษ enterotoxin และที่เชื้อสร้างขึ้น ปนเปื้อนในปริมาณน้อยกว่า 1 ไมโครกรัม จะสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ และมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตเป็นระยะๆ รวมทั้งอาจมีการเต้นของชีพจรผิดปกติ ซึ่งโดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน คณะผู้จัดทาได้เล็งเห็นความอันตรายของเชื้อ ซึ่งมีการกาจัดเชื้อโดยใช้สารเคมีอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย คณะผู้จัดทาจึงนาน้ามันหอมระเหยที่สกัดได้จากสมุนไพร ชนิด ได้แก่ ขิง (Zingiber officinale) ข่า ( Alpinia galangal ) กระชาย ( Boesenbergia rotunda ) กระวานไทย( Amomum krervanh ) เร่ว( Amomum xanthioides ) โดยนำคุณสมบัติของน้ามันหอมระเหยจากสมุนไพรทั้ง ชนิดมายับยั้งเชื้อ ตลอดจนเปรียบเทียบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อ S.aureus ได้ โดยเราใช้วิธีทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อ โดยวิธี หลักการโดยทั่วไปของวิธีนี้คือ Broth dilution เลี้ยงเชื้อที่ต้องการทดสอบในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลวซึ่งมีสารสกัดสมุนไพรในปริมาณต่างๆ กันผสมอยู่และสังเกตการณ์เจริญเติบโตของเชื้อ