ศึกษาประสิทธิภาพในการทำงานของเอสไออาร์เอ็นเอ ในการกำจัดเชื้อไวรัสเฮชไอวีโดยใช้ระบบจีเอฟพีอินทรอนพลาสมิด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อัครวิทย์ ธรรมธนารักษ์, เตชินท์ ปัญญาสกุลวงศ์, ณัฐณภัทร โห่ศิริ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สถาพร วรรณธนวิจารณ์, ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ระบบ siRNA เป็นระบบที่มีความสามารถในการยับยั้ง RNA จึงสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจาก Virus โดยเฉพาะ ไวรัสเอชไอวี (HIV virus) ได้ แต่ในปัจจุบันกระบวนการในการทดสอบประสิทธิภาพของ siRNAนั้น มีความซับซ้อนและยุ่งยาก ดังนั้นทางกลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ริเริ่มโครงงานสร้างระบบจีเอฟพีอินทรอนพลาสมิด (GFP intron plasmid system)เพื่อใช้ในการหาประสิทธิภาพของ siRNA และใช้ในการคัดเลือก siRNA ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยระบบนี้สามารถทำได้โดยการสร้าง จีเอฟพี อินทรอน พลาสมิด จากนั้นทำการตัดต่อยีนGAG ของHIV-1 ในส่วนของบริเวณ P6 ซึ่งเป็นส่วนที่มีอัตราการเกิดมิวเทชั่น(mutation rate)น้อยที่สุดจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของไวรัสเอชไอวี ลงในส่วนของอินทรอน (intron) บริเวณที่ปลอดภัย(safe zone) ขั้นตอนต่อไปคือการออกแบบ siRNA โดยมีเป้าหมายเป็นจีโนมของไวรัสเอชไอวีในส่วนของ P6 จากนั้นแบ่งการทดลองออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกคือการนำ GFP Intron plasmid เข้าสู่เซลล์โดยกระบวนการ Transient Transfection และส่วนที่สองนำ siRNA plasmid และ GFP Intron Plasmid เข้าสู่เซลล์โดยกระบวนการ Co-transfection จากนั้นเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปริมาณ โปรตีนจีเอฟพี (GFP protein) ที่ตรวจพบจากการทดลองทั้งสองส่วน จากนั้นออกแบบส่วนของ siRNA ใน siRNA plasmid ใหม่โดยยังคงเลือกส่วนที่เป็นบริเวณอนุรักษ์ (Conservative region) ของ P6 GAG HIV-1 แล้วนำ siRNA plasmid ที่ออกแบบใหม่ และ GFP Intron Plasmid เข้าสู่เซลล์ โดยกระบวนการ Co-transfection จากนั้นวัดปริมาณโปรตีน GFP ที่เกิดขึ้นแล้ว นำผลการทดลองที่ได้มาปรียบเทียบและหา siRNA ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ซึ่งทางกลุ่มของข้าพเจ้ามีความคาดหวังว่าระบบนี้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนารักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำระบบนี้ไปใช้ในการทดลอบประสิทธิภาพของระบบ gene silencing อื่นๆได้