การพัฒนาสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ Murashige & Skoog (MS) โดยสารสกัดจากถั่วหมักเพื่อเพิ่มปริมาณสาร andrographolide ในฟ้าทะลายโจรที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ COVID-19
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวลักษณ์ ใจแก้ว, พิมพ์ญาดา สิงห์ผาสุข, เพ็ญพิชชา แก้วหน่อ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรวัฒน์ วโรภาษ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อฟ้าทะลายโจร Murashige & Skoog (MS) เพื่อกระตุ้นการสร้างสาร andrographolide ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีรายงานการนำมาใช้ในผู้ป่วยระยะแรกเริ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริมาณสารดังกล่าวจะต้องมีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 6.0 โดยน้ำหนัก ซึ่งการปลูกแบบทั่วไปหรือที่เกษตรกรเพาะปลูกนั้นมักจะได้ปริมาณสาร andrographolide ที่ไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน และสารอาหารที่ผู้วิจัยมุ่งศึกษาคือสารสกัดจากถั่วพุ่มหมัก เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบมีปริมาณสูง อีกทั้งถั่วที่ผ่านกระบวนการหมักจะมีปริมาณกรดอะมิโนที่สูงขึ้น ซึ่งจะถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว (วรวลัญช์ ,2014) และสามารถพบมากในท้องถิ่น สอดคล้องกับงานวิจัยของ Edi Purwanto ที่ได้ศึกษาระดับของธาตุไนโตรเจนที่ส่งผลระดับเอมไซม์และการสังเคราะห์สารที่สำคัญ รวมถึงสาร andrographolide ในพืชด้วย ซึ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ การพัฒนาสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยสารสกัดจากถั่วหมัก และการเพาะเลี้ยงฟ้าทะลายโจรในอาหารเพาะเนื้อเยื่อและการศึกษาปริมาณสาร andrographolide ในฟ้าทะลายโจรที่เพาะเลี้ยงในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการรักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูง และเป็นการเพิ่มมูลค่าของถั่วพุ่มที่เกษตรกรเพาะปลูกในท้องถิ่นต่อไป