การพัฒนาเข็มระดับไมโครเพื่อการนำส่งสารสกัด Ellagic acid จากเปลือกทับทิมในรูปแบบแผ่นแปะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ทอแสง แสงอรุณ, ทอฝัน เลิศวรรณวิทย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา, อรวรรณ ปิยะบุญ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus เป็นหนึ่งในเชื้อที่ก่อให้เกิดปัญหาทางโรคผิวหนังมากที่สุด ทำให้การฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ในปัจจุบันนิยมใช้วิธีรับประทานยาปฏิชีวนะ แต่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคือง และอาจทำให้เชื้อดื้อยาได้ ผู้พัฒนาจึงได้ศึกษาการใช้สารสกัดทางธรรมชาติมาทดแทนการรับประทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีการศึกษาพบว่า Ellagic acid สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus ได้ และสามารถสกัดสารชนิดนี้ได้จากเปลือกทับทิมด้วยเทคนิคการสกัดด้วยตัวทำละลายโดยใช้ตัวทำละลายเมทานอล ซึ่งได้ผลผลิตร้อยละ 11.5 และเมื่อเปรียบเทียบกราฟ FTIR และ NMR ของสารสกัด Ellagic acid ที่สกัดได้กับกราฟมาตรฐานพบว่ามีตำแหน่งหมู่ฟังก์ชันที่ตรงกัน และแนวโน้มกราฟใกล้เคียงกัน โดยจะนำสารสกัดใส่ในแผ่นแปะฆ่าเชื้อ โดยละลายใน DMSO 1% ในน้ำ ในช่วงความเข้มข้น 10µg/mL – 10 mg/mL พบว่าไม่สามารถแสดงผลการฆ่าเชื้อที่ชัดเจนได้ เนื่องจาก Ellagic acid สามารถละลายได้ค่อนข้างยาก ในส่วนของการขึ้นรูปแผ่นแปะมีการใช้น้ำกลั่นในการขึ้นรูปแทนสารสกัดจริง และพบว่าที่อัตราส่วน jcs05 ที่ใช้เจลาติน:ไคโตซาน 1:1 glutaraldehyde 10% และใช้ไคโตซานมวลโมเลกุล 300-500 kDa แผ่นแปะมีการจับตัวเป็นแผ่น แต่อย่างไรก็ตามแผ่นแปะทางผิวหนังทั่วไปก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการซึมผ่านชั้นผิวหนังได้น้อย ผู้พัฒนาจึงสนใจที่จะพัฒนาแผ่นแปะนำส่งสารทางผิวหนังผ่านเข็มระดับไมโคร (Microneedles) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำส่งสารสกัดลงสู่ผิวหนังต่อไป