ถุงเพาะชำเทอร์โมพลาสติกจากแป้งข้าวโพดผสานเส้นใยผักตบชวาและเชื้อรา Trichoderma
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อภิญญา บัวหลวง, ธฤษวรรณ สนิทดี, พราวรวี โยธา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรวัฒน์ วโรภาษ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของปริมาณเส้นใยผักตบชวาและแป้งข้าวโพดในการผลิตถุงเพาะชำ TPS ,เพื่อผลิตถุงเพาะชำ TPS ที่สามารถ ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ทั้งในสภาวะการฝังกลบในดินและทางน้ำ, เพื่อผลิตถุงเพาะชำ TPS ที่เมื่อย่อยสลายแล้วจะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินโดยมีวิธีดําเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมเส้นใยผักตบชวาโดยผัก ทำการบดเส้นใยผักตบชวาแล้วร่อนด้วยตระแกรงขนาด180 ไมโครเมตร แล้วเก็บไว้ในโถดูดความชื้น ขั้นตอนที่ 2 นำแป้งข้าวโพด ละลายในน้ำกลั่น นำไปต้มแล้วทิ้งไว้ให้เย็นทำการเติมกลีเซออรอลแล้วกวนทิ้งไว้ ขั้นตอนที่ 3 การหาอัตราส่วนและขึ้นรูปแผ่นฟิล์มเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช นำสารลายแป้งข้าวโพดที่ได้ผสมกับเส้นใยผักตบชวาในอัตราส่วน 100/0, 90/10, 80/20, 70/30 % (w/w) จากนั้นเติมกลีเซอรอล 30% w/w ของน้ำหนักเนื้อแป้งข้าวโพดกับเส้นใยผักตบชวา แล้วทำการกวนทิ้งไว้จนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มโดยเทสารละลายผสมลงในถาดกระจก แล้วโรยเชื้อราไตรโคเดอมาปริมาณ 20 กรัม ทุกสูตร ทำการทดสอบแรงดึงโดยวิธีดัดแปลงวิธีตามมาตรฐาน ASTM D882-91, การดูดซึมน้ำโดยดัดแปลงวิธีตามมาตรฐาน ISO 535, การย่อยสลายทางชีวภาพของวัสดุโดยการฝังกลบในดิน Biodegradation under real landfill conditions ตามมาตรฐาน ISO 17025 ,การย่อยสลายทางชีวภาพของวัสดุในน้ำ Biodegrada-tion in seawater/sediment interface ตามมาตรฐาน ISO 17025, การทดสอบปริมาณธาตุอาหารในดินดัดแปลงจากงานวิจัยของ Walkley-Black