การทดสอบฤทธิ์ต้านลิปิดเปอร์ออกซิเดชันของตำลึง คะน้าและผักหวาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุกิตติ์ ศรสงวนสกุล, ณิชานันทน์ สิงติ, วิมลรัตน์ อ่อนช่วย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิราพร ศิริรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทดสอบฤทธิ์ต้านลิปิดเปอร์ออกซิเดชันของตำลึง คะน้าและผักหวาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการต้านลิปิดเปอร์ออกซิเดชันของตำลึง คะน้าและผักหวาน การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำลึง คะน้าและผักหวานที่สกัดด้วยการต้ม จากผลการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของตำลึง คะน้าและผักหวาน พบว่า ตำลึงที่ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์สามารถต้านอนุมูล DPPH ได้ถึงร้อยละ 78.95±1.08 และมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดเปอร์ออกซิเดชันของไขมัน(Lipid Peroxidation Activity) ด้วยวิธี Ferric-Thiocyanate ดีที่สุด (ร้อยละ 36.06±2.13) จากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าฤทธิ์ต้านออกซิเดชันทั้ง 3 กลไกของตำลึง คะน้าและผักหวานแสดง ให้เห็นว่า ตำลึง คะน้าและผักหวานมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้