เรื่อง คุณสมบัติทางกายภาพและประสิทธิภาพของโฟมโปรตีนดับเพลิงประเภทน้ำมันจากกากเมล็ดลำไย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กนกพร บุญเรือง, ธันยพร เตียวสถาพร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เกียรติศักดิ์ อินราษฎร, สุธิพงษ์ ใจแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาคุณสมบัติและเปรียบเทียบสูตรของโฟมโปรตีน รวมทั้งประสิทธิภาพใน การดับเพลิงประเภทน้ำมันของโฟมโปรตีน ซึ่งใช้วิธีการสกัดโปรตีนจากกากเนื้อในเมล็ดลำไย แล้วนำไป เข้ากระบวนการผลิตเป็นโฟมโปรตีนดับเพลิง แต่ละสูตรประกอบด้วย สารละลายโปรตีนต่อสารเร่ง ปฏิกิริยาประเภทด่างต่อน้ำต่อสารละลาย ไมโครซิงค์ออกไซด์ อัตราส่วน 80 : 5 : 10 : 5 โดย ศึกษาพารามิเตอร์ดังนี้ 1) ความคงตัวของโฟม 2) ความหนาแน่นของโฟม 3) ค่าโอเวอร์รัน 4) ค่าความหนืด 5) ค่าแรงตึงผิว และ 6) ประสิทธิภาพในการดับเพลิง โดยแต่ละพารามิเตอร์ ทำการทดลองจำนวน 7 ซ้ำ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยเทคนิค Duncan’s Multiple - range test ผลการศึกษาพบว่า โฟมโปรตีน มีคุณสมบัติในการรวมตัวกับสารเร่งปฏิกิริยา ประเภทด่างได้ดี ทำให้มีลักษณะทางกายภาพของโฟมที่มีความเหนียวแน่น เกาะกันเป็นแพ คลุมพื้นที่ ลุกไหม้ของไฟได้ดี นอกจากการนี้ การเติมไมโครซิงค์ออกไซด์ ทำให้โฟมโปรตีนมีความละเอียด การคงสภาพ โฟมได้ดีและยาวนาน