การพัฒนาถุงเพาะเห็ดจากเส้นใยของผักตบชวา เพิ่มประสิทธิภาพด้วย Bacillus spp. จากดินจอมปลวก เพื่อยับยั้งโรคราเขียวในชเห็ดนางฟ้าฮังการี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พัชรมณฑ์ บุญเหลือ, นันท์นภัส เถาพันธ์, พนิดา รวบยอด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เปรนิกา มณีท่าโพธิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาถุงเพาะเห็ดจากเส้นใยของผักตบชวาเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Bacillus subtilis จากดินจอมปลวก เพื่อยับยั้งโรคราเขียวในเห็ดนางฟ้าฮังการี จัดทำขึ้นเพื่อนำผักตบชวาซึ่งเป็นวัสดุปลูกทางธรรมชาติมาทำเป็นถุงเพาะเห็ดที่สามารถยับยั้งเชื้อรา Trichoderma spp. ที่เป็นสาเหตุของโรคราเขียวในการเพาะเห็ด โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 ตอน ได้แก่ การแยกเชื้อแบคทีเรีย Bacillus spp. จากดินจอมปลวก การผลิตถุงเพาะเห็ดจากเส้นใยของผักตบชวา การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Trichoderma spp. ของโรคราเขียว ด้วยกระดาษที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วยแบคทีเรีย Bacillus spp.จากดินจอมปลวกและการนำถุงเพาะเห็ดจากเส้นใยผักตบชวาไปใช้
จากผลการทดลองพบว่าแบคทีเรีย Bacillus spp. จากดินจอมปลวกมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Trichoderma spp. แล้วเมื่อนำถุงเพาะเห็ดจากเส้นใยของผักตบชวาที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วย Bacillus spp. จากดินจอมปลวกมาปลูกเห็ด พบว่าช่วงการรอเปิดดอกไม่มีราเขียวเกิดขึ้นและการเจริญเติบโตของดอกเห็ดมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการที่ปลูกด้วยถุงพลาสติก